Page 45 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       31







                       อากาศเพิ่มออกซิเจนให้กับกองปุ๋ย และช่วยให้วัสดุคลุกเคล้าเข้ากัน เมื่อปุ๋ยหมักที่เสร็จควรเก็บรักษา
                       ไว้ในโรงเรือนหลบแดดและฝน
                              การพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยสังเกตสีของเศษวัสดุพืช จะมีสีน้่าตาลเข้มจนถึง
                       ด่า ลักษณะของวัสดุเศษพืชจะอ่อนนุ่ม ยุ่ย และขาดออกจากกันได้ง่าย กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์

                       จะไม่มีกลิ่นเหม็น อุณหภูมิภายในและภายนอกกองปุ๋ยใกล้เคียงกัน มีการเจริญของพืชบนกองปุ๋ยหมัก
                       และค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับหรือต่่ากว่า 20 : 1
                              อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่จะมีปริมาณธาตุอาหารพืชค่อนข้างต่่า แต่มี
                       บทบาทมากในการปรับปรุงคุณภาพของดิน อัตราการใส่ปุ๋ยหมักในดินที่เป็นดินทรายทีมีความอุดม

                       สมบูรณ์ต่่าโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะใช้ในปริมาณที่สูงกว่าในดินเหนียวหรือดินร่วน
                       ปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางทางภาคเหนือและภาคกลาง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่
                       ปุ๋ยหมักเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพืชที่ที่ปลูก ควรใส่ปุ๋ยหมักในช่วงเตรียมดิน และไถกลบลงไปใน
                       ดินขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอที่จะท่าให้ธาตุอาหารที่มีอยู่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด อัตราแนะน่า

                       และวิธีการใส่ปุ๋ยส่าหรับพืชชนิดต่างๆ นั้น มีดังนี้ ข้าวใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบ
                       ก่อนปลูกพืช  พืชไร่ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืชแล้วคลุกเคล้ากับดิน  พืชผักใช้
                       อัตรา 4 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงและไถกลบขณะเตรียมดิน  ไม้ผล ไม้ยืนต้น เตรียมหลุมปลูกใช้

                       อัตรา 20 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินใส่รองก้นหลุม ต้นพืชที่เจริญแล้วใช้อัตรา 20-50 กิโลกรัม
                       ต่อต้น โดยขุดร่องลึก 10 เซนติเมตร ตามแนวทรงพุ่มของต้น ใส่ในร่องและกลบด้วยดินหรือหว่านให้
                       ทั่วภายในทรงพุ่ม ไม้ตัดดอกใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ และไม้ดอกยืนต้นใช้ 5-10 กิโลกรัมต่อหลุม
                              ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก ได้แก่ เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง
                       และจุลธาตุ ปรับปรุงสมบัติกายภาพของดิน ท่าให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศและอุ้มน้่าของดินดีขึ้น

                       สามารถดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อย
                       ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก ยังเพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดิน นอกจากนี้ยังเพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ ท่าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่

                       เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น
                              3.5.2 การผลิตน้่าหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
                              น้่าหมักชีวภาพเป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะ

                       สด อวบน้่าหรือมีความชื้นสูง โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนและมี
                       ออกซิเจน ท่าให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซ

                       โตไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก เป็น
                       น้่าสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ โดยผ่านกระบวนการ

                       หมักในสภาพที่ไม่มี  ออกซิเจน  (anaerobic  condition)  มีจุลินทรีย์ท่าหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช

                       และซากสัตว์เหล่านี้ให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการ
                       เติมเอนไซม์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จุลินทรีย์ที่พบในน้่าหมักชีวภาพ มีทั้งที่

                       ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50