Page 39 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25







                       3.4 เทคโนโลยีการจัดการดินในระบบเกษตรอินทรีย์
                              3.4.1 การใช้ปุ๋ยในระบบเกษตรอินทรีย์
                             ปุ๋ยอินทรีย์  หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก
                       ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตว์ที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจาก

                       โรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาล์ม เป็นต้น (สมปอง และ
                       คณะ, 2548)
                             หน้าที่หลักของปุ๋ยอินทรีย์ คือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การท่าให้ดินโปร่ง ร่วน
                       ซุย ให้ธาตุอาหารพืชค่อนข้างครบถ้วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม

                       แต่ส่วนใหญ่จะมีธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่่า เกษตรกรจ่าเป็นต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างสูงมาก
                       เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีส่วนรวมกับปุ๋ยเคมี และหน้าที่ที่ส่าคัญมากอีกประการ
                       หนึ่งก็คือท่าให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น โดยอินทรียวัตถุในดินมีผลท่าให้เกิด การเปลี่ยนแปลง
                       ทางกายภาพของดิน  โดยช่วยท่าให้ดินโปร่งพรุน อากาศในดินถ่ายเทได้สะดวก น้่าไม่ขัง ลดการ

                       ไหลบ่าของหน้าดิน และช่วยลดการสูญเสียของหน้าดิน รวมทั้งช่วยท่าให้จุลินทรีย์ดินมีการ
                       เจริญเติบโตและมีกิจกรรมต่อเนื่อง ท่าให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ท่าให้ดินไม่แน่นทึบ และดินไม่ร้อน
                       เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านธาตุอาหาร  และความเป็นกรด

                       ด่างของดิน โดยช่วยเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุประจุบวก (CEC) ให้แก่ดิน อินทรียวัตถุ
                       ช่วยเพิ่มความสามารถในการสรรหาและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ช่วยควบคุมหรือลดการ
                       ละลายได้ของแร่ธาตุบางชนิดในดิน เช่น อะลูมินั่ม (Al) และเหล็ก (Fe) โดยเฉพาะในดินที่เป็นกรดจัด
                       ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืชที่ส่าคัญ เช่น ฟอสฟอรัส (P) และโมลิบดีนั่ม  (Mo)
                       หรือช่วยลดการถูกตรึงยึดติดไว้ของดินกับธาตุอาหารพืชบางตัว ท่าให้พืชน่าธาตุอาหารไปใช้ไม่ได้

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดินมีสภาพเป็นกรดจัด อินทรียวัตถุช่วยเปลี่ยนแปลงท่าให้ธาตุอาหารพืชอยู่ใน
                       สภาพที่พืชสามารถน่าไปใช้ประโยชน์ได้  และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของดิน  (การ
                       เปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในดิน) โดยมีอินทรียวัตถุช่วยกระตุ้นการท่างานหรือกิจกรรมของจุลินทรีย์

                       ดินหรือสัตว์เล็กๆ ในดิน ช่วงระหว่างขบวนการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ ท่าให้การปลดปล่อยธาตุ
                       อาหารพืชในดินดีขึ้น เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดจากการกระท่าของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินดีขึ้น
                       รวมทั้งช่วยท่าให้สภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินดีขึ้นด้วย คุณสมบัติของอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้น
                       ในดินทั้ง 3 ประการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างผสมกลมกลืนและต่อเนื่องกันตลอดเวลา อย่างไรก็ตามอัตราเร่ง

                       ของการสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ หรือประโยชน์ที่จะได้จากอินทรียวัตถุในดินจะขึ้นกับชนิดและ
                       ปริมาณของวัสดุอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เช่น น้่า จุลินทรีย์ดิน และอุณหภูมิของดินต่างๆ เป็นต้น
                             ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และน้่าหมักชีวภาพ
                             ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการน่าวัสดุอินทรีย์มาผลิตด้วยกรรมวิธีท่าให้ชื้น สับ บด ร่อน

                       จนแปรสภาพจากรูปเดิมและผ่านกรรมวิธีหมักอย่างสมบูรณ์ ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพต้องระบุชนิดวัสดุ
                       อินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตและผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยสมบูรณ์ จนได้เนื้อปุ๋ยที่มีลักษณะนุ่มยุ่ย
                       ขาดจากกันได้ง่าย มีอุณหภูมิไม่สูงกว่าอุณหภูมิของอากาศ และมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ ตาม
                       ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรามองมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.  2548  ในแปลงพืชผักและไม้ผลของ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44