Page 42 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       28







                       10  กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 60-80 วัน ได้ปุ๋ยสด 3 ตันต่อไร่ ซึ่งจะให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
                       และโพแทสเซียม ประมาณ 3.0 0.4 และ 3.0 เปอร์เซนต์ ของน้่าหนักแห้ง และปอเทือง นิยมปลูกใน
                       แปลงพืชไร่ นาข้าว โดยหว่านหรือโรยเป็นแถวระยะแถว 100 เซนติเมตรใช้เมล็ดพันธุ์ 3-5 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70  วัน ได้ปุ๋ยสด 3-4  ตันต่อไร่ ซึ่งจะให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ

                       โพแทสเซียม ประมาณ 3.0 0.4  และ 3.0  เปอร์เซ็นต์  ของน้่าหนักแห้ง  โดยไถกลบขณะที่พืชปุ๋ยสด
                       ก่าลังออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะได้ปริมาณธาตุอาหารและน้่าหนักสดต่อไร่สูง ล่าต้นยังไม่แข็ง
                       มาก สามารถปลูกพืชหลักตามได้ภายใน 10–15  วัน หากพืชปุ๋ยสดอายุมากกว่านี้ ก็ต้องไถกลบทิ้งไว้
                       นานกว่านี้ (พนม และคณะ, ม.ป.ป.)

                              3.4.2 การปรับปรุงดินกรดในพื้นที่เพาะปลูก
                              ดินกรด หมายถึง ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างหรือที่เรียกว่า พีเอช (pH) ของดินต่่ากว่า
                       7.0 แต่ดินกรดที่เป็นปัญหาทางการเกษตร คือ ดินกรดที่มีค่าพีเอช ของดินต่่ากว่า 5.5 ความเป็นกรด
                       ของดินแต่ละช่วงจะมีผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์

                              ปัญหาของดินกรด ท่าให้ดินขาดธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ในดิน เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึง
                       ท่าให้พืชดูดไปใช้ไม่ได้ และมีธาตุบางธาตุ ได้แก่ อลูมิเนียม เหล็ก และแมงกานีส ละลายออกมามาก
                       จนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูกและเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้พืชมักแสดงอาการขาดาตุ

                       อาหาร พืชไม่เจริญเติบโต เกิดผลเสียหาย ผลผลิตพืชต่่า รวมทั้งระบบรากพืชถูกท่าลาย เกิดการ
                       ระบาดของเชื้อโรคพืชหลายชนิด เช่น เชื้อราโรครากเน่าโคนเน่าในพืช
                              แนวทางการปรับปรุงดินกรด ได้แก่ 1)  การใช้วัสดุปูนทางการเกษตรที่นิยมใช้ คือ ปูนโดโล
                       ไมต์ ซึ่งมีทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ อัตราปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรด
                       ในดิน โดยทั่วไปใช้ปูนโดโลไมต์ อัตรา 300-500  กิโลกรัมต่อไร่ 2)  การแก้ความเป็นกรดของดินในที่

                       ดอนที่ระดับความลึกมากกว่า 15 เซนติเมตร ซึ่งเป็นดินกรดจัดจนรากพืชไม่สามารถแผ่ขยายลงไปได้
                       การใช้วัสดุปูนมักไม่ได้ผล เนื่องจากวัสดุปูนมีการละลายและลงไปในดินล่างได้น้อย จึงต้องใช้วัสดุอื่นๆ
                       เช่น ยิปซั่ม หรือ ฟอสโฟยิปซัมที่มีคุณสมบัติในการละลายและสามารถแทรกลงไปในดินล่าง อัตรา

                       ยิปซัมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดในดิน  3) การใส่อินทรียวัตถุ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด
                       ช่วยเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารพืชในดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการถูกชะล้าง และอินทรีย์วัตถุ
                       ยังช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและอลูมิเนียมในดินด้วย 4) เพิ่มธาตุอาหารการใส่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
                       ปุ๋ยพืชสด ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยม ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสม

                       กับชนิดพืชที่ปลูก และฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนหรือน้่าหมักชีวภาพ  5)  การคลุมดินใช้วัสดุคลุมดินเศษพืช
                       หรือพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เป็นการรักษาหน้าดิน ป้องกันการชะล้างละลายหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้น
                       ในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน  6) เลือกชนิดพืชและพันธุ์พืชที่ชอบดินกรดมาปลูก  ดินกรดที่
                       ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วสามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด แต่ต้องมีการจัดการน้่าและธาตุอาหาร

                       พืชให้เหมาะสม เกษตรกรควรรู้ช่วงเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสมส่าหรับพืชแต่ละชนิดเพื่อจะได้
                       แก้ไขความเป็นกรดของดินให้อยู่ในช่วงพอดีกับความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ พืชหลายชนิดสามารถ
                       ทนทานและเจริญเติบโตได้ดีในดินกรด เช่น ข้าว แตงโม ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มันส่าปะหลัง ถั่ว
                       ยางพารา ปาล์มน้่ามัน กาแฟ กล้วย มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ยาสูบ และสับปะรด เป็นต้น  และ 7)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47