Page 44 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30







                       ซังข้าวโพด ต้นและเปลือกถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานแปรรูปผลผลิตทาง
                       การเกษตร เช่น กากอ้อย ขี้ตะกรันหม้อกรอง ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ทะลายปาล์ม เปลือกเมล็ดกาแฟ
                       เป็นต้น รวมทั้งวัชพืช เช่น ผักตบชวา ฯลฯ มูลสัตว์ ใช้เป็นแหล่งอาหารแก่จุลินทรีย์ในระยะเริ่มแรก
                       ของการหมักในขณะที่ชิ้นส่วนพืชยังไม่เน่าเปื่อย อีกทั้งในมูลสัตว์ยังมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการหมัก

                       ปุ๋ยอยู่เป็นจ่านวนมาก โดยเฉพาะในมูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ปุ๋ยไนโตรเจน จะเป็นธาตุอาหารไนโตรเจน
                       ให้แก่จุลินทรีย์ในระยะเริ่มแรกของการหมักซึ่งจะช่วยให้การย่อยสลายเศษพืชเกิดรวดเร็วขึ้นและท่าให้
                       การหมักเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต นอกจากเป็นแหล่ง
                       ของปุ๋ยเคมีไนโตรเจนแล้ว แหล่งไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์ที่สามารถใช้แทนได้ เช่น เลือดแห้ง

                       หนังสัตว์บดละเอียด ขนไก่ป่น ซึ่งมีปริมาณไนโตรเจนระหว่าง 1-14 เปอร์เซ็นต์ กากถั่วเหลือง กากถั่ว
                       ลิสง มีไนโตรเจน 7-8 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น กระบวนการย่อยเศษพืชเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของ
                       จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงจนกระทั่งเป็นก๊าซ
                       คาร์บอนไดออกไซด์ น้่า ความร้อน และสารประกอบฮิวมัส เมื่อกระบวนการย่อยสบายเสร็จสมบูรณ์

                       จะได้สารประกอบที่มีความคงทนที่เรียกว่า “ปุ๋ยหมัก” กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยแบ่งได้เป็น 3
                       ระยะ คือ ระยะอุณหภูมิปานกลาง (mesophilic phase) ช่วง 30-40 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นในช่วง
                       แรกของการย่อยสลาย ระยะอุณหภูมิสูง (thermophilic  phase)  เกิดขึ้นในช่วงที่มีการย่อยสลาย

                       อย่างต่อเนื่องโดยอุณหภูมิจะเพิ่งสูงขึ้นถึง 45-60 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านี้ เป็นช่วงที่เกิดการ
                       ย่อยสลายสูงสุดจนท่าให้เกิดความร้อนสะสมในกองปุ๋ยหมักและระยะอุณหภูมิลดลง (maturation
                       phase)  เป็นช่วงที่อัตราการย่อยสลายลดลงจนกระทั่งอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง และลดลงอย่าง
                       ช้าๆ ช่วงนี้เป็นระยะที่ใกล้จะเสร็จสิ้นการย่อยสลายแล้ว
                              ส่วนผสมของวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย เศษพืชแห้ง  1,0 0 0  กิโลกรัม มูล

                       สัตว์ 200 กิโลกรัม ปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม และสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ่านวน 1 ซอง
                              วิธีการกองปุ๋ยหมัก  การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน จะมีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง
                       1.5 เมตร การกองมี 2 วิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึง

                       กองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ ประมาณ 3–4 ชั้น โดยเป็น
                       ส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3–4 ส่วน ตามจ่านวนชั้นที่จะกอง มีวิธีการกองดังนี้ ผสมสารเร่งซุปเปอร์
                       พด.1 ในน้่า 20 ลิตร นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์ และพร้อม
                       ที่จะเกิดกิจกรรมจากย่อยสลาย ในการกองชั้นแรกให้น่าวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาด

                       กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ย่่าให้พอแน่นและรดน้่าให้ชุ่ม น่ามูลสัตว์โรยที่
                       ผิวหน้าเศษพืชให้ทั่ว โรยปุ๋ยไนโตรเจนให้ทับชั้นบนของมูลสัตว์ แล้วราดสารละลายสารเร่งให้ทั่ว โดย
                       แบ่งใส่เป็นชั้นๆหลังจากนั้นน่าเศษพืชมากองทับเพื่อน่าชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ท่า
                       เช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสีย

                       ความชื้น
                              การปฏิบัติและการดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก หลังจากกองปุ๋ยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท่าการดูแล
                       รักษา  โดยรดน้่ารักษาความชื้นในกองปุ๋ยให้ชุ่มอยู่เสมอ ความชื้นประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์โดย
                       น้่าหนัก  ในการกลับกองปุ๋ยหมัก ควรกลับกองปุ๋ยประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็นการระบาย
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49