Page 38 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       24







                       3.3 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                              เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ
                       และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่ได้จากการ
                       สังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปรพันธุกรรม (GMO) มีการจัดการกับ

                       ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และ
                       คุณภาพที่ส่าคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน  (ส่านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,
                       2561)
                              หลักการของเกษตรอินทรีย์ คือ พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความ

                       หลากหลายของพืชและสัตว์ พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองโดยเฉพาะปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ
                       ภายในฟาร์ม ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพน้่าด้วยดินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก
                       ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง รักษาความสมดุลของธรรมชาติ และความยั่งยืนของระบบนิเวศ
                       โดยรวม ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ท่าให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักการปฏิบัติหลังการ

                       เก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีธรรชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
                       ที่สุด รักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบการเกษตรภายในฟาร์มและระบบนิเวศรอบข้าง
                       รวมทั้งอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสัตว์ป่า รักษาความเป็นอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่

                       การผลิต แปรรูป เก็บรักษา และจ่าหน่าย หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ตลอดกระบวนการผลิต
                       แปรรูป และเก็บรักษา ผลิตผล ผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต้องไม่มาจากการดัดแปร
                       พันธุกรรม หรือ GMO และผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบต้องไม่ผ่านการฉายรังสี
                                 การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน มีระบบการรับรองที่เป็นมาตรฐานหลายระบบ ที่
                       ส่าคัญและเป็นที่รู้จักแพร่หลาย คือ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory  Guarantee

                       Systems  :  PGS)  เป็นระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยชุมชน การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง และ
                       ต่อเนื่องของผู้มีส่วนได้ส่วนสียของชุมชน ภายใต้หลักการพื้นฐาน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเป็น
                       เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2559)

                                  หลักการส่าคัญของระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม คือ 1) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็น
                       จุดแข็งของกระบวนการ 2) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สนับสนุน
                       เป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน 3) ความโปร่งใส กลุ่มต้องจัดท่าระบบการรับประกันการผลิต ซึ่งจะต้อง
                       วางแผนร่วมกัน 4) ความไว้วางใจเป็นกระบวนการที่มั่นใจว่าผู้ผลิตแต่ละคนปกป้องธรรมชาติและ

                       สุขภาพของผู้บริโภคด้วยการผลิตตามหลักการเกษตรอินทรีย์ 5) ความสัมพันธ์แบบแนวราบ ผู้มีส่วน
                       ได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนมีความเสมอภาค ใช้ระบบประชาธิปไตย ด้วยการแลกเปลี่ยน หมุนเวียน ความ
                       รับผิดชอบ 6) กระบวนการเรียนรู้ เป็นการประเมินในลักษณะเรียนรู้ร่วมกันและเป็นการตรวจสอบ
                       ความเข้าใจในมาตรฐาน 7) การด่าเนินงานในรูปเครือข่าย การขับเคลื่อนระบบนี้อยู่ภายใต้การ

                       ด่าเนินงานของเครือข่ายที่หลากหลาย การท่าให้ระบบมีความโปร่งใสและเข้าถึงได้ทั้งจาก
                       ผู้ประกอบการและผู้บริโภคนั้น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43