Page 76 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 76

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       59







                       เฉพาะเจาะจงจะมีปัจจัยข้อจ้ากัดหรือความต้องการในการแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการใช้ที่ดิน
                       จึงต้องยึดความเหมาะสมของที่ดินเป็นหลัก เช่น ที่ลุ่มย่อมเหมาะสมต่อการท้านา แต่ไม่เหมาะสมแก่
                       การปลูกพืชไร่ หรือป่าไม้
                                  2) การประเมินต้องมีการเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่จะได้รับกับปัจจัยที่ต้องน้ามา

                       ลงทุนในที่ดินแต่ละประเภท
                                  3) การประเมินจ้าเป็นต้องใช้สหวิทยาการ โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
                       เทคโนโลยีการใช้ที่ดิน เศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น มาพิจารณาร่วมกัน
                                  4) ผลที่ได้จากการประเมินจะใช้ได้เฉพาะที่เท่านั้น เพราะปัจจัยของแต่ละพื้นที่ย่อม

                       แตกต่างกัน
                                  5) ความเหมาะสม (Suitability) หมายถึง การใช้อย่างเกิดผลยั่งยืนนาน ทั้งนี้เพราะ
                       การประเมินจะครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ ซึ่งจะต้องมีการดูแลรักษาป้องกันมิให้เกิดเสียสมดุลธรรมชาติ
                       และสามารถมีใช้อย่างต่อเนื่อง

                                  6) การประเมินจะต้องมีการเปรียบเทียบการใช้ที่ดินมากกว่าหนึ่งแบบ เช่น
                       เปรียบเทียบระหว่างพืชแต่ละชนิดหรือระบบการปลูกพืชแต่ละระบบ หากไม่มีการเปรียบเทียบแล้วจะ
                       ท้าให้การใช้ที่ดินอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่า อาจจะถูกละเลยอันเป็นผลเสียได้

                                  7) รูปแบบการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO  Framework  สามารถท้าได้
                       2 รูปแบบ คือ การประเมินทางด้านคุณภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพเท่านั้น ว่าที่ดินนั้นๆ
                       เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ และการประเมินทางด้าน
                       ปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค้าตอบแทนในรูปผลผลิตที่ได้รับตัวเงินในการลงทุนและตัวเงิน
                       จากผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในการศึกษาครั้งนี้

                                  8) ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land  Utilization  Type) หมายถึง ชนิดหรือ
                       ระบบการใช้ที่ดินที่กล่าวถึงสภาพการผลิตและเทคนิคในการด้าเนินการในการใช้ที่ดิน ทั้งทางด้าน
                       กายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ชนิดพืชที่ปลูก เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ขนาดของฟาร์ม

                       ลักษณะถือครองที่ดินโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการ การจัดการ วัสดุที่ใช้ในฟาร์ม เป้าหมายของการผลิต
                       ผลผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นต้น
                            3.4.3 วิธีการประเมินคุณภาพที่ดิน
                                บัณฑิต และค้ารณ (2542) กล่าวว่า ในการประเมินคุณภาพที่ดิน จะประเมินออกมาว่า

                       หน่วยที่ดินนั้นๆ เหมาะสมกับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบใดบ้าง พืชชนิดเดียวกันแต่มีสภาพ
                       การผลิต และการจัดการที่แตกต่างกันจะถือเป็นประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินคนละประเภทเนื่องจาก
                       คุณภาพที่ดินเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดออกเป็นค่า (value)  เชิงปริมาตรได้ในการจะพูดว่า ดี เลว
                       ข้อจ้ากัด ฯลฯ ว่ามีมากน้อยรุนแรงอย่างไร จ้าเป็นต้องมีการวัดค่า เช่น แผ่นดินไหววัดจาก

                       ค่าริคเตอร์หรือความเป็นกรดเป็นด่างวัดจากค่าพีเอช ส้าหรับคุณภาพดิน ค่าเหล่านี้วัดได้จาก
                       องค์ประกอบของคุณภาพที่ดิน คือ คุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristic)  ในบางกรณีจะมีเด่น
                       เพียงตัวเดียวหรือบางกรณีอาจจะมีหลายตัว แต่ละตัวก็มีหน่วยวัดต่างกัน นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
                       ที่คุณภาพที่ดินไม่มีหน่วยวัดเพราะเป็นการผสมผสานส่งเสริม ขัดแย้ง (interact)  ในตัวของมันเอง

                       ซับช้อนและผันแปร ตามสภาพแวดล้อมด้วย  เนื่องจากคุณลักษณะที่ดินมีหลายตัวที่ใช้เป็นตัวแทน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81