Page 75 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       58







                                Dent  (1985) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพที่ดิน เป็นวิธีการศึกษาศักยภาพของที่ดิน
                       เมื่อถูกน้าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลต่างๆ เช่น การส้ารวจภาคสนาม ภูมิอากาศ ดิน
                       พืชที่ปลูก และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของความต้องการในการใช้ประโยชน์ที่ดิน อย่างไรก็ตามควรมี
                       การวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมควบคู่กัน เพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                                FAO  (1976) ให้ความหมายการประเมินคุณภาพที่ดินว่า เป็นกระบวนการในการ
                       ประเมิน ผลตอบสนองของที่ดินในการใช้ประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจง การประเมินจะเกี่ยวข้องกับ
                       การวิเคราะห์ ตีความข้อมูลทางด้านสภาพภูมิประเทศ ดิน พืชพันธุ์ ภูมิอากาศ และข้อมูลด้านอื่นๆ
                       ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาท้าการแยกแยะและเปรียบเทียบกับชนิดของการใช้ที่ดิน เพื่อท้าให้ทราบว่าแต่ละ

                       ชนิดการใช้ที่ดินจะสามารถตอบสนองตามวัตถุประสงค์ที่ก้าหนดไว้ได้มากน้อยเพียงใด
                                Mcrac  and  Burnham  (1981) เสนอว่าที่ดินสามารถประเมินทางตรงได้ โดยการ
                       สังเกตจากการเจริญเติบโตของพืช ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีความเหมาะสมในพื้นที่ที่เฉพาะเจาะจงและการ
                       ใช้ที่ดินเพียงอย่างเดียว โดยต้องค้านึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ การประเมินทางตรงผู้ประเมินต้อง

                       รวบรวมข้อมูลทรัพยากรต่างๆ ข้อมูลปัจจุบันเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ซึ่งการประเมินที่ดินส่วนมาก
                       ประเมินทางอ้อม โดยมีการประมาณค่าของดินและอิทธิพลของพื้นที่อย่างเฉพาะเจาะจงจึงจะประสบ
                       ความส้าเร็จ การใช้ที่ดินอย่างมีหลักการและคุณภาพของที่ดิน จะสามารถอนุมานจากการสังเกตจาก

                       คุณสมบัติต่างๆ
                                ค้ารณ (2554) กล่าวว่า ในการประเมินคุณภาพที่ดินจะถือว่าที่ดินเป็นทรัพยากร หรือ
                       เป็นอุปทาน (Supply) ขณะที่การใช้ที่ดินเป็นอุปสงค์ (Demand)  ที่ดินแต่ละแห่งจะมีคุณภาพที่ดิน
                       (Land quality) จ้าเพาะตามคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristics) ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะ
                       ของภูมิอากาศ (Climatic  factor) และคุณลักษณะของดิน (Soil  characteristics)  คุณภาพที่ดินที่

                       ก้าหนดขึ้นนี้ต้องมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต และระดับของผลผลิตพืช เพื่อที่จะได้มาตรวจวัดว่า
                       สามารถจะปลูกพืชอะไรได้บ้าง และมีความเหมาะสมหรือข้อจ้ากัดด้านใดบ้าง มากน้อยเพียงใด
                       เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโต (Land-use requirement) แตกต่างกัน

                                FAO  (1976)  รายงานว่าการประเมินคุณภาพที่ดินในประเทศต่างๆ ได้มีมาก่อนใน
                       ปี ค.ศ. 1970 และแต่ละประเทศก็จะมีระบบเป็นของตนเองท้าให้เกิดปัญหาในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
                       ความรู้แก่กันและกัน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้ท้าการก้าหนด
                       มาตรฐานการประเมินให้เป็นหลักสากลขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ ทั่วโลกมาประชุมตกลงกันในปี ค.ศ. 1973

                       จากนั้นได้มีการก้าหนดกรอบแนวทางและพิมพ์เป็นเอกสารขึ้นได้ส้าเร็จในปี ค.ศ. 1975
                                ส้าหรับประเทศไทยกรมพัฒนาที่ดิน ได้เป็นผู้น้าระบบการประเมินคุณภาพที่ดินตาม
                       หลักการ FAO  ดังกล่าวมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2528 อาจกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยงานราชการ
                       หน่วยแรก โดยน้ามาใช้วางแผนการใช้ที่ดินระดับจังหวัด โดยเริ่มที่จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดแรก

                       จากนั้นน้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆของกรม และใช้ระบบดังกล่าวต่อมาจนถึงปัจจุบัน
                            3.4.2 หลักการประเมินคุณภาพที่ดิน
                                FAO (1983) ได้ก้าหนดหลักการประเมินคุณภาพที่ดิน เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
                                  1) ความเหมาะสมของที่ดิน (Land  suitability)  เป็นหลักเกณฑ์ในการจ้าแนกที่

                       ส้าคัญส้าหรับการใช้ที่ดินที่เฉพาะเจาะจง หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในการใช้ที่ดิน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80