Page 73 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       56







                                มนู และสุกาญจนวดี (2537) แบ่งกิจกรรมการใช้ที่ดินเพื่อตอบสนองความต้องการด้าน
                       ปัจจัย 4 ของมนุษย์ไว้ 4  ประเภท ได้แก่ การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีทั้งเพื่อการเพาะปลูก และ
                       เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ และเป็นแหล่งผลิตปัจจัยส้าคัญในการด้ารงชีวิต
                       โดยเฉพาะอาหาร การใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจขั้นที่สองต่อจาก

                       เกษตรกรรม ซึ่งมีทั้งอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งทางการเกษตรและนอกการเกษตรการใช้ที่ดินเพื่อ
                       ชุมชน  ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัย ที่ประกอบกิจการพาณิชย์ ตลอดจนที่พักผ่อนในชุมชนการใช้ที่ดินเป็นที่
                       พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ เช่น น้้าตก ภูเขา
                       และที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เขื่อน สวนสาธารณะ ตลอดจนสถานที่ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีและ

                       วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ
                                ได้ก้าหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการเกษตรกรรม โดยจัดแบ่งชั้นคุณภาพตามสมรรถนะใน
                       การปลูกพืชแต่ละกลุ่ม ดังนี้
                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 1 ก้าหนดเป็นพื้นที่ควรคุ้มครองเพื่อใช้ในการเกษตร

                       ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรสูง เหมาะสมกับพืชกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจปลูกพืช
                       ได้หลายชนิด ผลผลิตมักมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพืชแต่ละชนิด
                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 2 ก้าหนดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและส่งเสริม

                       เพื่อการเกษตรกรรม มีศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรปานกลาง อาจต้องมีการปรับปรุงหรือเพิ่ม
                       ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยหากมีการลงทุนทางเทคโนโลยีในการผลิตช่วยให้ได้ผลผลิต
                       ที่ดีขึ้นแต่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม
                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ก้าหนดให้มีการส่งเสริมหรือฟื้นฟูเพื่อการ
                       เกษตรกรรม เนื่องจากมีศักยภาพการผลิตค่อนข้างต่้าสามารถปลูกพืชได้บางชนิด และผลผลิตที่ได้ต่้า

                       กว่าค่าเฉลี่ยของพืชแต่ละชนิด มีข้อจ้ากัดด้านสภาพภูมิประเทศ หากใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทอาจ
                       ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย เป็นพื้นอาศัยน้้าฝน จ้าเป็นต้องมีการลงทุนปรับปรุง
                       ดินสูง และต้องการลงทุนทางเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นแต่อาจก่อให้เกิดปัญหา

                       ต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมได้ง่าย
                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 4 เป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรส้าหรับการ
                       เพาะปลูกพืช เนื่องจากมีข้อจ้ากัดอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถเพาะปลูก หรือหากเพาะปลูกอาจส่งผล
                       กระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรงเนื่องจากปัญหาคุณสมบัติดิน สภาพภูมิประเทศ ความลาดชัน

                       แหล่งน้้าในการเพาะปลูกแต่สามารถปลูกพืชได้บางชนิด ซึ่งต้องมีการลงทุนสูงแต่จะให้ผลผลิตต่้า
                       ส้าหรับบางพื้นที่อาจเหมาะส้าหรับการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า การเลี้ยงสัตว์
                       ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ นอกจากนี้บางพื้นที่อาจติดข้อจ้ากัดในการใช้ประโยชน์อันเนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าสงวน
                       และมีข้อจ้ากัดทางกฎหมายอื่นๆ

                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 5 ก้าหนดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายที่ห้ามใช้ใน
                       การเกษตรต้องการอนุรักษ์ไว้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม
                            3.3.2 การจัดการผลผลิตทางการเกษตร
                                จรรยาภรณ์ (2554) กล่าวว่า ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยของเรานั้นมี

                       มากมายหลายชนิดผลัดเปลี่ยนกันผลิดอกออกผลตลอดทั้งปี  ซึ่งเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ของ
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78