Page 78 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 78

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       61







                            3.4.4 คุณภาพที่ดิน (Land Quality: LQ)
                                คุณภาพที่ดินคือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
                       คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristic)  ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้
                       เช่น ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to roots) เป็นคุณภาพที่ดิน

                       ซึ่งมีผลมาจากคุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เช่น ชั้นการระบายน้้าของดิน (Soil  drainage  class  )
                       ความลึกของระดับน้้าใต้ดิน (depth of watertable) ระยะเวลาของน้้าท่วมขัง (period of waterlogging)
                       เป็นต้น จะเห็นว่าคุณภาพที่ดินนั้นในแต่ละสิ่งแวดล้อม คุณลักษณะที่ดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต
                       ของพืช ความรุนแรงอาจไม่เท่ากันหรือคนละตัว การประเมินคุณภาพที่ดินจึงจ้าเป็นต้อง “ชั่งน้้าหนัก”

                       ว่าสถานการณ์ใดควรจะใช้คุณลักษณะที่ดินใดเป็นตัวน้า ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้  คุณภาพ
                       ที่ดินที่น้ามาประเมินส้าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO  Framework  ได้ก้าหนดไว้ทั้งหมด
                       25 ชนิด ส้าหรับประเทศไทยอาจน้ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูลความ
                       แตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต ตลอดจนชนิดของพืช

                       และความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-Use     Requirements) คุณภาพที่ดินทั้ง 25 ชนิด
                       มีดังนี้ (บัณฑิต และค้ารณ, 2542)
                                  1) ความเข้มของแสงอาทิตย์ (Radiation regime) : u

                                  2) อุณหภูมิ (Temperature regime) : t
                                  3) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability) : m
                                  4)  ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to root) : o
                                  5) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability) : s
                                  6) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity) : n

                                  7) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions) : r
                                  8)  สภาวะที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช (Conditions affecting germination) : g
                                  9) ความชื้นในอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโต (Air humidity as affecting growth) :  h

                                  10)  สภาวะการสุกแก่ (conditions for ripening) : i
                                  11)  ความเสียหายจากน้้าท่วม (Flood hazard) : f
                                  12)  ความเสียหายจากภูมิอากาศ (Climatic hazard) : c
                                  13)  การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts) : x

                                  14)  สารพิษ (Soil toxicities) : z
                                  15)  โรคและศัตรูพืช (Pasts and diseases) : p
                                  16)  สภาวะการเขตกรรม (Soil workability) : k
                                  17)  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization) : w

                                  18)  สภาวะส้าหรับการเตรียมดิน (Conditions for land preparation) : v
                                  19)  สภาวะส้าหรับการกักเก็บและแปรรูป (Conditions for storage and processing) : q
                                  20)  สภาวะที่มีผลต่อเวลาให้ผลผลิต (Conditions affecting timtng of production) : y
                                  21)  การเข้าถึงพื้นที่ (Access within the production unit) : a

                                  22)  ขนาดของหน่วยศักยภาพการจัดการ (Size of potential management units) : b
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83