Page 80 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       63







                       จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของรากพืชและอาจตายได้ในภาวะที่รากพืชขาดก๊าชออก
                       ชิเจนอย่างรุนแรงและเป็นเวลานานพอ
                                    ส้าหรับพืชไร่และไม้ผลไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีการแช่ขังของน้้าเป็น
                       เวลานานตั้งแต่ 5 -  14 วันขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช ในสภาพน้้าแช่ขังปริมาณออกชิเจนในดินมี

                       น้อยมากหรือไม่มี รากพืชจะขาดก๊าชออกชิเจนอย่างรุนแรงและถ้าเป็นเวลานานพอพืชจะตายได้
                                  3) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability)
                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน ในที่นี้พิจารณา
                       เฉพาะธาตุหลักคือธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปแตสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ส้าคัญต่อ

                       การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด ประกอบกับการพิจารณาถึงปฏิกิริยาดิน ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะทาง
                       เคมีของธาตุอาหารพืชในดินที่จะอยู่ในรูปที่พืชสามารถน้าธาตุนั้นไปใช้ได้หรือไม่นอกจากนั้นแล้ว
                       ปฏิกิริยาดินจะมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งมีส่วนส้าคัญในขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุด้วย
                                  4) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity)

                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก
                       (Cation exchange capacity) และความอิ่มตัวด้วยค่าด่าง (Base saturation) โดยที่ปัจจัยทั้งสองนี้
                       มีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชในเรื่องปริมาณธาตุอาหารที่ดินสามารถดูดยึด และการ

                       ปลดปล่อยธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อพืช
                                  5) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions)
                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้้าใต้
                       ดินและชั้นการหยั่งลึกของราก (root penetration classes)
                                    ความลึกของดินจะมีส่วนสัมพันธ์กับความลึกของระบบรากพืชในการหยั่งเพื่อหา

                       อาหารและยึดล้าต้น ดินที่มีความลึกของรากโอกาสที่รากจะเจริญเติบโตก็เป็นไปได้ง่าย นอกจากนี้
                       ระดับน้้าจากใต้ดินจะเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของรากพืชด้วย ถ้าระบบน้้าใต้ดินตื้น โอกาสที่
                       รากพืชจะเจริญเติบโตไปสู่เบื้อล่างก็เป็นไปได้ยากเพราะดินข้างล่างจะขาดออกชิเจน

                                  6) ความเสียหายจากน้้าท่วม (Flood hazard)
                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ จ้านวนครั้งที่น้้าท่วมในช่วงรอบปีที่ก้าหนดไว้
                       หมายถึง พืชได้รับความเสียหายจากการที่น้้าท่วมบนดินชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือเป็นน้้าที่มีการไหลบ่า
                       การที่น้้าท่วมขังจะท้าให้ดินขาดออกชิเจน ส่วนน้้าไหลบ่าจะท้าให้รากพืชได้รับความกระทบกระเทือน

                       หรือรากอาจหลุดพ้นผิวดินขึ้นมาได้ ความเสียหายจากน้้าท่วมไม่ใช่จะเกิดกับพืชเท่านั้น แต่ยังท้าความ
                       เสียหายให้กับดินและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน
                                      ชั้นมาตรฐาน      ความถี่ของการเกิดน้้าท่วม
                                    (1) ต่้า             10 ปีขึ้นไปเกิด 1 ครั้ง

                                    (2) ค่อนข้างต่้า        6-9 ปีเกิด 1 ครั้ง
                                    (3) ปานกลาง         3-5 ปีเกิด 1 ครั้ง
                                    (4) สูง             1-2 ปีเกิด 1 ครั้ง
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85