Page 81 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 81

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       64







                                  7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts)
                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจน
                       เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชมีปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ ไม่ต่้ากว่า  15  เปอร์เซ็นต์
                       หรือที่เรียกว่า ความเข้มของเกลือ (Salinity)  จะมีอิทธิพลที่ท้าให้เกิดความเสียหายกับพืชโดยขบวนการ

                       เคลื่อนที่ของตัวท้าละลาย (Osmosis)  กล่าวคือ ถ้ามีปริมาณเกลือสะสมในดินมากกว่าปริมาณน้้าในรากพืช
                       และต้นพืชจะถูกดูดออกมาท้าให้ต้นพืชขาดน้้า ถ้าความเค็มมีระดับสูงมากอาจท้าให้พืชตายได้ พืชแต่ละ
                       ชนิดจะมีความสามารถในการทนทานต่อปริมาณเกลือแตกต่างกันไป เช่น ฝ้าย มีความทนทานสูงมากถึง
                       10-16 มิลลิโมห์ต่อเซ็นติเมตร (mmho/cm) องุ่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ มะเขือเทศ มีความทนทาน

                       ปานกลาง ประมาณ 4-10  มิลลิโมห์ต่อเซ็นติเมตร (mmho/cm)  ส้าหรับส้ม มะนาว อ้อย มีความ
                       ทนทานต่้ามากประมาณ 2-4 มิลลิโมห์ต่อเซ็นติเมตร (mmho/cm)
                                  8) สารพิษ (Soil Toxicities)
                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึกของจุดประสีเหลืองฟางข้าว

                       หรือที่เรียกว่าจาโรไซต์ (Jarosite) ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาดิน จะท้าให้ดินเป็นกรดจัดมาก ปริมาณซัลเฟตของ
                       เหล็ก และอลูมินั่มในดินจะสูงมากจนเป็นพิษต่อพืช
                                  9) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability)

                                    คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม ซึ่งอาจ
                       หมายถึง การไถพรวนโดยเครื่องจักรหรือสัตว์ หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้มือก็ได้ ชั้นระดับความยากง่าย
                       ในการไถพรวนใช้มาตรฐานเดียวกันกับการจัดล้าดับการหยั่งลึกของราก แต่ใช้เฉพาะดินบนเท่านั้น
                       ดังตารางที่ 12
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86