Page 77 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 77

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       60







                       คุณภาพที่ดินเดียวกัน ดังนั้น จึงมีการคาดคะเน (estimation)  ผลจากการร่วมกันของปัจจัย
                       (diagnosticfactors) จึงมีวิธีในที่นี้ จะยกมาเป็นตัวอย่าง 4 วิธี
                                  1) การประเมินจะมีคุณลักษณะเพียงตัวเดียว (Single land characteristic)
                                    จะเลือกปัจจัยที่มีระดับความส้าคัญที่สุดเพียงตัวเดียวมาประเมิน

                                    ข้อดี    ง่าย
                                    ข้อเสีย   (1) ไม่ใช่ตัวแทนของคุณภาพที่ดินที่แท้จริง
                                          (2) ถ้าข้อมูลมีความเชื่อถือต่้ากว่าจะให้ผลลัพธ์จากการประเมินผิดพลาดมาก
                                          (3) อาจมีปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ไม่ได้น้ามาใช้

                                            ในการประเมิน
                                  2) การประเมินจากกลุ่มคุณลักษณะที่ดินมีข้อจ้ากัดรุนแรงที่สุด
                                    (Most limiting group of land characteristics)
                                    ข้อดี    มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและผลผลิตโดยตรง

                                    ข้อเสีย   (1) การประเมินเริ่มซับซ้อนมากขึ้น
                                          (2) ความรุนแรงของข้อจ้ากัดอาจมีผลร่วมจากปัจจัยอื่นที่มิได้น้าสู่การประเมิน
                                  3) การประเมินจากการค้านวณทางคณิตศาสตร์ของคุณลักษณะที่ดิน

                                    (Empirical combination of land characteristics)
                                    ข้อดี    (1) คุณลักษณะที่ดินทุกตัวมีโอกาสช่วยในการประเมิน
                                          (2) ค่าที่ได้จากการประเมินสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงศักยภาพ
                                            การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                    ข้อเสีย   (1) ผลจากการค้านวณทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลขที่ชี้บ่งถึงผลผลิตโดยตรง

                                          (2) ค่าวิกฤต (critical value) และจุดเฝือ (surplus) จะมีความหมายเหมือน
                                            ตัวเลขธรรมดา ท้าให้ผลผลิตผิดพลาด
                                          (3) การค้านวณยุ่งยากมากขึ้น

                                  4) การประเมินโดยแบบจ้าลอง (Modelling)
                                    ข้อดี  (1) ผลจากการประเมินจะใกล้เคียงกับสภาพความจริงโดยธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
                                        (2) ข้อมูลหลายๆ ด้าน สามารถน้ามาสู่ขบวนการประเมิน
                                        (3) ค่าวิกฤต (critical value) และจุดเฝือ (surplus) จะเป็นไปตามธรรมชาติ

                                        (4) สะดวก รวดเร็ว และสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดย
                                          อาศัยระบบสมองกล
                                    ข้อเสีย (1) การสร้างแบบจ้าลอง (modelling) ใช้ข้อมูลมากและท้าได้ยากต้องใช้เวลา
                                          และผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน

                                        (2) ข้อมูลที่น้ามาใช้ในแบบจ้าลองจะต้องมีรูปแบบเท่าที่ก้าหนดไว้เท่านั้น
                                          จะต้องมีการเปลี่ยน data เป็น information ก่อนทุกๆขั้นตอน
                                        (3) ข้อก้าหนดของอุปกรณ์เครื่องสมองกลยังขาดแคลนในระบบราชการ
                                          และผู้ใช้จ้าเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ดิน พืชเศรษฐกิจมากพอที่จะ

                                          ตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ได้
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82