Page 72 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       55







                       การใช้ประโยชน์จะท้าให้บุคคลทุกคนได้รับประโยชน์เท่าเทียมการวางแผนการใช้ประโยชน์จึงจัดท้า
                       ขึ้นเพื่อให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีความทั่วถึงในลักษณะของการได้ประโยชน์จากแผนการ
                       ใช้ประโยชน์ที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
                                  3) ความคงทนถาวรหรือการใช้ประโยชน์ที่ยาวนาน  การวางแผนการใช้ประโยชน์

                       ที่ดินอย่างถาวรหรือคงทนจะต้องมีการจัดการที่ดีและถูกต้อง เช่น มีมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้้า
                       เพื่อป้องกันการชะล้างและการพังทลายของหน้าดินและอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง
                       อุทกภัย ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งอันตรายจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเราสามารถท้าให้ลดลงได้ เช่น
                       การสร้างระบบการชลประทานกักเก็บน้้าหรือการสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้้าท่วม หรือแม้กระทั่งการ

                       สร้างคลองระบายน้้า เป็นต้น
                            3.2.7 การก้าหนดเขตการใช้ที่ดิน
                                ส้านักนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (2554)  กล่าวว่า เขตการใช้ที่ดิน เป็นการก้าหนด
                       พื้นที่การใช้ที่ดินที่เหมาะสมทางด้านกายภาพ  เศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการก้าหนด

                       แผนงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ รวมถึงการวางแผนการผลิตและการตลาด การใช้ที่ดิน
                       ตลอดจนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตร ที่เน้นแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจ
                       พอเพียง สามารถก้าหนดเขตการใช้ที่ดินให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและยั่งยืนได้

                       3.3  แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร


                            3.3.1 การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร
                                การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลง
                       รูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรมาโดยตลอด ในอดีตมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตอาหารด้ารงชีพ หรือที่
                       เรียกว่า การเกษตรแบบยังชีพ (Subsistence agriculture) แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อ
                       จ้าหน่ายเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของเกษตรกรมากขึ้นถึงแม้มีการขยายกิจการให้มีขนาดใหญ่แต่ก็ยังคง

                       มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรแบบยังชีพอยู่ เนื่องจากเกษตรกรมีความแตกต่างทางด้านความรู้
                       ความสามารถ และเงินทุน จึงท้าให้ลักษณะ การใช้ที่ดินแตกต่างกันไปและสามารถแยกประเภทได้
                       ดังนี้

                                  1) การเกษตรแบบยังชีพ (Subsistence agriculture) เป็นการเกษตรที่ไม่ต้องใช้
                       ความรู้ความสามารถ และเงินทุนหมุนเวียนมากนัก ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ การท้าไร่เลื่อนลอย
                                  2) การเกษตรแบบการค้า (Commercial agriculture) เป็นการใช้ดินเพื่อการ
                       เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวเป็นการเกษตรที่มีแบบแผน และหวังผลเพื่อการค้าส่วนใหญ่

                       มักเป็นกิจการขนาดใหญ่ ลงทุนมาก เกษตรกรต้องมีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการเกษตรเป็น
                       อย่างดี สามารถจัดหาพื้นที่การเกษตรและจัดรูปที่ดินเพื่อสะดวกในการใช้เครื่องจักรกลและการขนส่ง
                       อันเป็นปัจจัยส้าคัญในการผลิตและระบายผลผลิตออกสู่ตลาด
                                  3) การเกษตรแบบผสม (Diversified agriculture) เป็นการเกษตรที่มีการปลูกพืช

                       ต่างชนิดกัน หรือแบ่งพื้นที่ไว้เลี้ยงสัตว์ประกอบกับการปลูกพืช เป็นการจัดระบบการเกษตรใหม่เพื่อ
                       ลดความเสียหายอันเกิดจากการเกษตรแบบการค้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77