Page 74 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       57







                       เกษตรกรผู้ผลิต  ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์พืช  การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก  การให้น้้าและการให้ปุ๋ยการ
                       ป้องกันก้าจัดพืช การเก็บเกี่ยวและการวางจ้าหน่าย อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับการจัดการ
                       ภายหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย ก็คือ การจัดการทางการตลาดนี้มี
                       หลายมุมมองแตกต่างกันไป การตลาดในส่วนที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวเกษตรกรค่อนข้างมาก นั่นก็คือการ

                       จัดการทางการตลาดในรูปแบบที่ตัวเกษตรกรเป็นผู้จ้าหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเอง  คือ  เป็นทั้ง
                       ผู้ผลิต  ผู้แปรรูป  และผู้จ้าหน่ายเองในตัวคนๆ เดียวกัน  หรือว่าปลูกเอง  ขายเอง ส่วนใหญ่จะเป็น
                       รูปแบบการตลาดเพื่อการวางจ้าหน่ายผลผลิตทางการเกษตรในลักษณะผลผลิตสด หรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
                       อย่างง่าย อาทิเช่นการทอด การกวน การแช่อิ่ม เป็นต้น สิ่งที่ส้าคัญอันดับแรกที่ต้องกล่าวถึงนั่นก็คือ

                       สินค้าที่จะน้ามาวางจ้าหน่ายต้องเป็นผลผลิตที่มีความปลอดภัย ปราศจากการเข้าท้าลายของโรคและแมลง
                       หรือสารพิษตกค้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนรอยต้าหนิ
                       หรือลักษณะที่ผิดปกติทางสรีรวิทยาต่างๆ ของผลผลิต  ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกที่ผู้บริโภคสามารถ
                       สังเกต และมองเห็นได้ง่ายและทันที มาตรฐานคุณภาพ สามารถแบ่งออกเป็นคุณภาพภายนอก และ

                       คุณภาพภายใน  การวางจ้าหน่ายผลผลิตผู้ซื้อจะให้ความส้าคัญกับคุณภาพภายนอกค่อนข้างมาก
                       บางครั้งจึงจ้าเป็นต้องมีการเพิ่มกระบวนการบางอย่างให้ผลผลิตน่าสนใจเพิ่มขึ้น เช่น การเคลือบผิว
                       และการลดสีเขียวของแอปเปิ้ล และส้มความสดใหม่และความสะอาด  ของผลผลิตทางการเกษตรก็

                       เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อและผู้บริโภคได้ การเลือกท้าเล ที่ตั้งของการวางจ้าหน่ายก็ถือ
                       ว่าเป็นสิ่งส้าคัญ  บางท่านที่เป็นผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดจะให้ความส้าคัญกับเรื่องนี้
                       ค่อนข้างมาก  ซึ่งจ้าเป็นต้องเป็นแหล่งชุมชน  มีจ้านวนประชาชนหนาแน่น  การคมนาคมและการ
                       เดินทางสะดวกสบาย สุดท้ายที่จะขาดเสียไม่ได้นั่นก็คือ  ผู้จ้าหน่ายสินค้า หรือผู้บริการต้องมีจิตใจใน
                       การให้บริการ ที่เรียกกันว่า Service mind

                            3.3.3 ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use requirement)
                                ในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ว่าจะเป็นพืชเดี่ยวหรือหลายพืชก็มี
                       ความต้องการปัจจัยและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ความต้องการปัจจัยที่ผลต่อการเจริญเติบโตและการ

                       ให้ผลผลิตของพืชนั้น สามารถเรียกว่า “ความต้องการด้านพืช” (crop requirement) ขณะเดียวกัน
                       ส้าหรับตัวเกษตรกรเองนั้น จะต้องพิจารณาถึงความต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล สารเคมี
                       แรงงานและเทคโนโลยี เงินทุน ความต้องการทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการด้านการจัดการ”
                       (Management requirements) นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่นอีกด้านหนึ่งเพื่อสามารถใช้ที่ดินได้

                       ตลอดไปโดยไม่ท้าลายคุณภาพของที่ดินเองหรือท้าลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อันเนื่องมาจากประเภทการ
                       ใช้ที่ดินนั้นๆ ในแต่ละทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความต้องการทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการ
                       ด้านการอนุรักษ์” (conservation requirements)

                       3.4  การประเมินคุณภาพที่ดิน

                            3.4.1 การประเมินคุณภาพที่ดิน
                                การประเมินคุณภาพที่ดิน เป็นขั้นตอนส้าคัญในการวางแผนการใช้ที่ดิน เนื่องจากสามารถแสดง
                       ข้อมูลการจัดการที่ดินที่ควรท้าในปัจจุบัน และสิ่งใดจะเกิดขึ้นเมื่อปลูกพืชแบบเดิมต่อไป แสดงแนวทางการ
                       ปรับปรุงที่ดินที่สามารถท้าได้ หากต้องการปลูกพืชเดิมอยู่ ความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบเดิมหรือ

                       โอกาสที่ได้ผลตอบแทน รวมทั้งแสดงถึงปัจจัยที่จ้าเป็นต้องใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับที่ต้องการ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79