Page 33 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           20



                  การพิจารณาสัดส่วนของแรงขับ (driving force) และแรงต้านทาน (resisiting force) ที่กระทํากับมวลดิน
                  ค่าเสถียรภาพลดลงเมื่อแรงขับมากขึ้นหรือแรงต้านทานลดลง จนเมื่อแรงขับมากกว่าแรงต้านทานก็ทําให้เกิด
                  การวิบัติของความลาดชันของดิน การลดลงของกําลังเฉือนในดิน (shear strength reduction) เป็นปัจจัย

                  สําคัญที่ทําให้แรงต้านทานลดน้อยจนเกิดการวิบัติของความลาดชันกําลังเฉือนของดินที่ลดลง (กัญญา, 2527)

                             สภาพพื้นที่ที่มีความต่างระดับกัน ธรรมชาติย่อมปรับให้อยู่ในสภาวะสมดุลเสมอ คือ จะมีแรง
                  เกิดขึ้นเพื่อดันในส่วนที่อยู่ระดับเหนือกว่าพังทลายลงมายังส่วนที่อยู่ในระดับต่ํากว่า แต่เนื่องจากภายใน
                  มวลดินมีแรงต้านทานต่อแรงกระทํา ดังนั้นเมื่อใดที่แรงต้านมีค่ามากกว่าแรงกระทํา ดินจะไม่ไถลพังทลายลง
                  แรงกระทําที่เกิดขึ้น ได้แก่ แรงดึงดูดของโลก แรงที่เกิดจากการไหลซึมของน้ํา แรงต้านทานต่อการไถล และแรง

                  ต้านทานกําลังเฉือนของดิน การพังทลายเกิดได้หลายกรณี ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน การเรียงตัวของดินตาม
                  ธรรมชาติ ซึ่งเสถียรภาพของความลาดชัน วิเคราะห์จากการหาค่าอัตราส่วนปลอดภัย (factor of safety)
                  ต้านการวิบัติของความลาดชัน ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนระหว่างโมเมนต์ที่เกิดจากแรงต้านทาน และโมเมนต์ที่เกิด
                  จากแรงขับที่ทําให้วิบัติ ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยที่จะก่อให้เกิดเสถียรภาพความลาดชันของดินจะมีค่าอยู่

                  ในช่วง 1.3 ถึง 1.5 โดยสามารถแบ่งระดับเสถียรภาพของความลาดชันจากการจําแนกประเภทของดินตาม
                  ระบบ Unified และค่าอัตราส่วนปลอดภัย ได้ดังตารางที่ 14

                  ตารางที่ 14 ระดับเสถียรภาพของความลาดชัน

                                 ระดับ      ประเภทของดินตามระบบ Unified  ค่าอัตราส่วนปลอดภัย

                                   ดี          - GW, GP, GC, SC, CL                  > 1.5

                               ปานกลาง         - GM, SW, SM, ML, MH, CH             1.3 - 1.5

                                  เลว          - SP, OL, OH                          < 1.3



                           3.19 สภาพให้ซึมได้ของดินหลังบดอัด (permeability - compacted)

                             การบดอัดดิน (compaction) เป็นวิธีการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของดิน ทําให้
                  อนุภาคดินจัดเรียงตัวใกล้ชิดกันมากที่สุด โดยการไล่อากาศออกจากช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทําให้ช่องว่าง
                  ระหว่างเม็ดดินมีขนาดเล็กลง การบดอัดดินนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของน้ําที่มีอยู่ในดินก่อนการ

                  บดอัดดิน การบดอัดดินให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความสามารถในการรับน้ําหนัก
                  ของดิน ลดอัตราการไหลซึมของน้ําผ่านดินที่บดอัดแน่นแล้ว ลดอัตราการทรุดตัวของดินภายใต้แรงกระทํา
                  อัตราความแน่นของการจัดตัวของเม็ดดินในปริมาตรหนึ่งๆ นั้น วัดออกมาในรูปของความหนาแน่นแห้ง
                  หรือเป็นการวัดปริมาณของอนุภาคดินที่เป็นของแข็ง (กัญญา, 2527)


                             การบดอัดดินเป็นกระบวนการที่ใช้แรงหรือน้ําหนักจากเครื่องจักรกล เช่น รถบดล้อเหล็ก รถบด
                  ล้อยาง รถบดตีนแกะ รถบดชนิดสั่นกระแทก เป็นต้น การจะเลือกใช้เครื่องมือชนิดใดขึ้นอยู่กับประเภทของดิน
                  หรือวัสดุที่จะบดอัด ซึ่งวิธีการบดอัดให้ได้ความแน่นสูงตามความต้องการหรือตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
                  จะต้องอาศัยน้ําเป็นตัวหล่อลื่น การบดอัดดินจะทําให้ความสามารถในการไหลซึมของน้ําผ่านดินลดลง หรือเป็น

                  การลดค่าสัมประสิทธิ์สภาพให้ซึมได้ของดิน โดยแบ่งระดับสภาพให้ซึมได้ของดินหลังบดอัด ได้ดังตารางที่ 15
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38