Page 31 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           18



                  ความยากง่ายในการปฏิบัติงาน และความเหมาะสมของตําแหน่งที่ตั้ง ดังนั้น ข้อมูลความลาดชันที่ใช้ในงาน
                  ด้านปฐพีกลศาสตร์ต้องระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ความลาดชันเฉพาะตําแหน่ง ซึ่งความลาดชันเป็นสิ่งสําคัญในการ
                  กําหนดเส้นทางแนวถนน โดยพื้นที่ดอนที่มีความลาดชันต่ํามีความเหมาะสมมากกว่าพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ที่มี

                  ความลาดชันสูง

                           3.15 ก้อนหินโผล่ (stoniness)

                             ในการประเมินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ก้อนหินโผล่ หมายถึง การมีเศษหินหรือก้อนหินขนาด
                  เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 25 เซนติเมตร กระจัดกระจายอยู่บนผิวดิน ซึ่งการมีก้อนหินโผล่หรือหินพื้นตื้น
                  จะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างถนน ควรหลีกเลี่ยงดินที่มีลักษณะดังกล่าว โดยปริมาณก้อนหินโผล่แบ่งเป็น 6 ชั้น

                  (Fraser et al., 1985) ดังตารางที่ 11

                  ตารางที่ 11 ชั้นของปริมาณก้อนหินโผล่ในการประเมินทางด้านปฐพีกลศาสตร์

                             ชั้น                      ชื่อชั้น                    ร้อยละของพื้นผิว

                              0        ไม่มีก้อนหินโผล่ (non stony)                    < 0.01

                              1        ก้อนหินโผล่เล็กน้อย (slightly stony)           0.01 - 0.1
                              2        ก้อนหินโผล่ปานกลาง (moderately stony)           0.1 - 3

                              3        ก้อนหินโผล่มาก (very stony)                       3 - 15

                              4        ก้อนหินโผล่มากที่สุด (exceedingly stony)         15 - 50

                              5        ก้อนหินโผล่มากเกินไป (excessively stony)         > 50


                             ในขณะที่งานสํารวจดิน ก้อนหินโผล่ หมายถึง การมีเศษหินหรือก้อนหินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
                  มากกว่า 7.5 เซนติเมตร กระจัดกระจายอยู่บนผิวดินและก้อนหินเหล่านี้สามารถเก็บออกได้โดยใช้แรงคนหรือ
                  เครื่องจักรกล โดยปริมาณก้อนหินโผล่แบ่งเป็น 7 ชั้น (เอิบ, 2548) ดังตารางที่ 12


                  ตารางที่ 12 ชั้นของปริมาณก้อนหินโผล่ในการประเมินทางด้านสํารวจดิน

                            ชั้น                       ชื่อชั้น                     ร้อยละของพื้นผิว

                             1        ไม่มีก้อนหินโผล่หรือก้อนหินโผล่เล็กน้อย           < 0.01
                                      (non to slightly stony soil)

                             2        ก้อนหินโผล่ปานกลาง (moderately stony soil)       0.01 - 0.1
                             3        ก้อนหินโผล่มาก (very stony soil)                  0.1 - 3

                             4        ก้อนหินโผล่มากที่สุด (extremely stony soil)         3 - 15

                             5        พื้นที่ก้อนหินโผล่ (rubbly soil)                   15 - 50

                             6        พื้นที่ก้อนหินโผล่มาก (very rubbly soil)           50 - 90

                             7        พื้นที่ดาดหิน (rubble land)                        > 90
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36