Page 30 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           17



                                3) ดินลึกปานกลาง (moderately deep) มีชั้นดินหนา 50 - 100 เซนติเมตร
                                4) ดินลึก (deep soil) มีชั้นดินหนา 100 - 150 เซนติเมตร
                                5) ดินลึกมาก (very deep soil) มีชั้นดินหนามากกว่า 150 เซนติเมตร

                             ข้อจํากัดของความตื้น ความลึกของดิน พิจารณาจากปริมาณของชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่เท่ากับ

                  หรือมากกว่า 2 มิลลิเมตรที่ปะปนอยู่ในเนื้อดิน ถ้าพบปะปนอยู่ในเนื้อดินปริมาตรเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ
                  35 โดยปริมาตร หรือมีชั้นเชื่อมแข็งหรือมีชั้นหินพื้นแข็ง ซึ่งความลึกของดินเป็นข้อจํากัดในเรื่องความหนาของ
                  วัสดุที่เหมาะสมในการขุดมาเป็นแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือดินคันทาง และคันกั้นน้ํา ในขณะที่ความลึกถึงชั้น
                  หินพื้นเป็นอุปสรรคในการนําไปใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด เส้นทางแนวถนน ระบ่อเกรอะ การสร้างโรงงาน

                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการสร้างอาคารต่ําๆ

                           3.14 ความลาดชันของพื้นที่ (slope)

                             ความลาดชันของพื้นที่ หมายถึง สภาพพื้นที่ที่มีการเบี่ยงเบนหรือเอียงไปจากแนวระนาบ เป็นการ
                  วัดความต่างระดับเมื่อเทียบเป็น 100 หน่วย เช่น พื้นที่มีความลาดชัน 5 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าความต่าง

                  ระดับระหว่างจุด 2 จุดในแนวดิ่งเท่ากับ 5 หน่วย เมื่อเทียบระยะห่างในทางราบระหว่างจุด 2 จุดนั้น เท่ากับ
                  100 หน่วย การจําแนกประเภทดินตามความลาดชัน มีหลักเกณฑ์อยู่ 2 ประการ คือ 1) ต้องเหมาะสมกับสภาพ
                  ภูมิประเทศ และสามารถเขียนขอบเขตของหน่วยแผนที่ได้อย่างแน่นอน 2) จะต้องได้ประโยชน์ในการแปล
                  ความหมายเพื่อการใช้ และจะไม่เพิ่มจํานวนของหน่วยแผนที่มากจนเกินไป โดยความลาดชันของพื้นที่แบ่งเป็น

                  8 ชั้น (กองสํารวจและจําแนกดิน, 2543; สถิระ, 2558) ดังตารางที่ 10

                  ตารางที่ 10 ชั้นความลาดชันและสภาพภูมิประเทศ

                               ความลาดชัน          ความลาดชันเชิงซ้อน              ความลาดชันเชิงเดี่ยว
                   สัญลักษณ์
                               (เปอร์เซ็นต์)        (complex slope)                   (single slope)
                      A           0 - 2        ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ   ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
                                               (level to nearly level)       (level to nearly level)

                       B          2 - 5        ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย        ลาดชันเล็กน้อยมาก
                                               (gently undulating)           (very gently sloping)
                      C           5 - 12       ลูกคลื่นลอนลาด (undulating)   ลาดชันเล็กน้อย (gently sloping)

                      D          12 - 20       ลูกคลื่นลอนชัน (rolling)      ลาดชันสูง (strongly sloping)

                       E         20 - 35       เนินเขา (hilly)               สูงชันปานกลาง (moderately steep)

                       F         35 - 50       ภูเขา (mountain)              สูงชัน (steep)

                      G          50 - 75       ภูเขา (mountain)              สูงชันมาก (very steep)
                      H           > 75         ภูเขา (mountain)              สูงชันที่สุด (extremely steep)


                             การจัดระดับความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ ได้นําสมบัติทางด้านความลาดชันมาใช้ใน
                  การประเมินความเหมาะสมในเรื่องการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน อ่างเก็บน้ํา

                  ขนาดเล็ก ระบบบ่อเกรอะ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะ
                  ในช่วงฤดูฝน โดยระดับความเหมาะสมของชั้นความลาดชันมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละลักษณะงาน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35