Page 36 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           23



                             การกร่อน (erosion) หมายถึง การสึกของผิวหน้าดินโดยตัวการต่างๆ เช่น ฝน น้ําชลประทาน
                  ลม น้ําแข็ง หรือการกระทําของมนุษย์ที่ทําให้มีการครูดถู การแตกกระจาย และการเคลื่อนย้ายดินหรือหิน
                  จากจุดใดจุดหนึ่งบนผิวโลกไปทับถมกันในที่อื่น รวมทั้งการคืบของดินและการกร่อนเนื่องจากการไถพรวน

                             การวิบัติของความลาดชัน ตลิ่ง และคันดินจะปรากฏร่องรอยการกัดเซาะที่ทําให้เห็นเป็นโพรงอยู่

                  ในชั้นดิน (ภาพที่ 6) กระบวนการนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เนื่องจากการสูญเสียเสถียรภาพภายในโครงสร้างดิน
                  จากแรงดันการไหลซึม (seepage force) เป็นกระบวนการที่เม็ดดินที่มีขนาดเล็กกว่า ถูกแรงจากการไหลซึม
                  กระตุ้นให้เคลื่อนที่และพัดพาออกมากับการไหลของน้ําผ่านช่องว่างในมวลดิน การสูญเสียเม็ดดินอย่างต่อเนื่อง
                  จะทําให้เกิดช่องว่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนเกิดเป็นช่องทางที่น้ําจะไหลซึมได้เร็วกว่าส่วนอื่น จากนั้นเม็ดดิน

                  บริเวณรอบช่องว่างที่กว้างขึ้นจะหลวมและถูกพัดพาออกมามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นโพรง เรียกกระบวนการ
                  นี้ว่า การกัดเซาะภายใน (internal erosion) หรือการกัดเซาะจากการซึม (seepage erosion) โพรงเหล่านี้
                  ถ้ามีจํานวนมากและอยู่เป็นกลุ่มจะเสี่ยงต่อการก่อตัวเป็นโพรงขนาดใหญ่ อาจมีลักษณะเป็นปล่องอุโมงค์หรือ
                  หลุมยุบ (sinkhole) ซึ่งทําลายเสถียรภาพโดยรวมของดินและเกิดการวิบัติในที่สุด (อติเทพ, 2556)




















                  ภาพที่ 6 การวิบัติของดินที่ปรากฏโพรงท่อจากการกัดเซาะภายในโครงสร้างดิน

                             การประเมินเสถียรภาพของการกัดเซาะภายในโครงสร้างดิน พิจารณาได้จากการกระจายขนาด
                  ของเม็ดดิน ความดันของการไหลซึมน้ํา และหน่วยแรงประสิทธิผล โดยดินชนิดที่มีการกระจายขนาดของ
                  เม็ดดินเชิงกว้าง (broadly graded soil) และดินที่มีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี (poorly graded soil) พบว่ามี

                  ความเสี่ยงสูงในการเกิดการกัดเซาะภายในโครงสร้างดิน โดยแบ่งระดับการต้านทานต่อการเกิดโพรงท่อและ
                  การกร่อนจากการจําแนกประเภทของดินตามระบบ Unified ได้ดังตารางที่ 17

                  ตารางที่ 17 ระดับการต้านทานต่อการเกิดโพรงท่อและการกร่อน


                                          ระดับ              ดี       ปานกลาง        เลว


                                                         GW, GP,                   GM, SM,
                                                        GC, SC, CH      SW           ML

                                    ประเภทของดินตาม               CL                  -
                                      ระบบ Unified
                                                             -                 SP


                                                                    OL, MH, OH
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41