Page 32 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           19



                             ดังนั้น การจัดระดับความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ ก้อนหินโผล่ที่มีขนาดเส้นผ่าน
                  ศูนย์กลางมากกว่า 25 เซนติเมตร ถึงจะเป็นข้อจํากัดและอุปสรรคในการปฏิบัติงานสําหรับการใช้เป็นแหล่ง
                  หน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน บ่อขุด คันกั้นน้ํา ระบบบ่อเกรอะ การสร้าง

                  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน ซึ่งไม่สามารถใช้เกณฑ์
                  การประเมินปริมาณก้อนหินโผล่ทางงานด้านสํารวจดินได้

                           3.16 หินพื้นโผล่ (rockiness)

                             การที่พื้นผิวของดินมีหินพื้นโผล่ โดยที่มีชั้นหินพื้นทอดตัวเป็นแนวยาวติดต่อกันอยู่ใต้ดินในระดับ
                  ความลึกที่ไม่แน่นอน การเคลื่อนย้ายหรือเก็บออกไปจากพื้นที่จะกระทําไม่ได้ จึงเป็นอุปสรรคอย่างถาวรต่อการ

                  ปฏิบัติงาน โดยงานด้านปฐพีกลศาสตร์ได้แบ่งปริมาณหินพื้นโผล่เป็น 6 ชั้น (Fraser et al., 1985) ดังตารางที่ 13

                  ตารางที่ 13 ชั้นของปริมาณหินพื้นโผล่

                             ชั้น                      ชื่อชั้น                    ร้อยละของพื้นผิว

                              0        ไม่มีหินพื้นโผล่ (non rocky)                      < 2

                              1        หินพื้นโผล่เล็กน้อย (slightly rocky)            2 - 10


                              2        หินพื้นโผล่ปานกลาง (moderately rocky)           10 - 25

                              3        หินพื้นโผล่มาก (very rocky)                     25 - 50

                              4        หินพื้นโผล่มากที่สุด (exceedingly rocky)        50 - 90

                              5        หินพื้นโผล่มากเกินไป (excessively rocky)         > 90


                           3.17 อันตรายจากการถูกน้ําท่วม (flooding hazards)

                             สภาพน้ําท่วมมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่บริเวณนั้นจะมีความเหมาะสมอยู่ใน

                  ระดับใด ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อการถูกน้ําท่วมหรือน้ําไหลบ่าผ่านพื้นที่ จนทําความเสียหาย น้ําที่ท่วมขังนี้
                  อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีฝนตกหนักหรือมีน้ําไหลบ่ามาอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากพื้นที่ที่อยู่สูงกว่า
                  สภาพน้ําท่วมขังกําหนดโดยใช้ความถี่หรือจํานวนครั้งที่เกิดน้ําท่วมในรอบปี (กองสํารวจและจําแนกดิน, 2543)
                  โดยบันทึกความถี่จากการถูกน้ําท่วมของพื้นที่บริเวณนั้น เช่น ไม่มีน้ําท่วมขังภายใน 20 ปี (none) หรือ 5 - 20

                  ปีท่วมหนึ่งครั้ง (5 - 20 year/a time) หรือท่วมปีละครั้งทุกปี (once year) เป็นต้น

                             การประเมินศักยภาพของดินที่เหมาะสมในเรื่องการใช้เป็นเส้นทางแนวถนน บ่อเกรอะ โรงงาน
                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ต้องอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ไม่มีน้ําท่วมขัง เนื่องจากบริเวณที่มีน้ําท่วมขัง
                  หรือท่วมบ่อยครั้งต่อรอบปี ไม่เหมาะสมที่จะกําหนดเป็นเส้นทางแนวถนน การก่อสร้างต้องลงทุนสูง ใช้เทคนิค

                  พิเศษ และถนนที่สร้างแล้วมีโอกาสชํารุดหรือเสียหายได้ง่าย

                           3.18 เสถียรภาพของความลาดชัน (slope stability)

                             เสถียรภาพของความลาดชัน หมายถึง ความมั่นคงของความลาดต่างๆ เช่น ที่ลาดเขา ที่ลาดคันดิน
                  ที่ลาดข้างเขื่อน ที่ลาดข้างคันคลอง เป็นต้น (กรมชลประทาน, 2553) เสถียรภาพของความลาดชันเป็น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37