Page 37 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           24



                  4. ระบบการจําแนกดินทางด้านวิศวกรรม

                        ระบบการจําแนกดินที่นํามาประเมินความเหมาะสมสําหรับกิจกรรมด้านปฐพีกลศาสตร์ ประกอบด้วย
                  3 ระบบ ได้แก่ ระบบ USDA, Unified และ AASHO (กัญญา, 2527)

                           4.1 การจําแนกเนื้อดินในระบบ United States Department of Agriculture (USDA)

                             การจําแนกเนื้อดินในระบบ USDA เป็นการจําแนกตามปริมาณของอนุภาคดิน กลุ่มดินขนาดหลัก
                  คือ อนุภาคทราย (sand) มีขนาดอนุภาคเท่ากับ 0.05 - 2.00 มิลลิเมตร อนุภาคทรายแป้ง (silt) มีขนาดอนุภาค
                  เท่ากับ 0.002 - 0.05 มิลลิเมตร และอนุภาคดินเหนียว (clay) มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 0.002 มิลลิเมตร โดยใช้
                  ตารางสามเหลี่ยมมาตรฐานจําแนกประเภทเนื้อดินจากหยาบไปหาละเอียด ที่มีขนาดของอนุภาคน้อยกว่าหรือ

                  เท่ากับ 2 มิลลิเมตร ดังนี้ ทราย (sand) ทรายปนดินร่วน (loamy sand) ดินร่วนปนทราย (sandy loam)
                  ดินร่วน (loam) ดินร่วนปนทรายแป้ง (silt loam) ทรายแป้ง (silt) ดินร่วนเหนียวปนทราย (sandy clay loam)
                  ดินร่วนเหนียว (clay loam) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (slity clay loam) ดินเหนียวปนทราย (sandy clay)
                  ดินเหนียวปนทรายแป้ง (silty clay) และดินเหนียว (clay) เนื้อดินจะมีสัดส่วนของอนุภาคละเอียดเพิ่มขึ้น

                  ตามลําดับ ดังแสดงในภาพที่ 7 ส่วนเนื้อดินที่มีชิ้นส่วนหยาบขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตรปะปนในดิน เรียกเนื้อดิน
                  นี้ว่า ดินปนชิ้นส่วนหยาบ




























                  ภาพที่ 7 ตารางสามเหลี่ยมมาตรฐานจําแนกประเภทเนื้อดิน
                  ที่มา: Soil Survey Division Staff (1993)

                           4.2 การจําแนกดินในระบบ Unified Soil Classification (USC หรือ Unified)

                             การจําแนกประเภทของดินตามระบบ Unified หลักใหญ่ๆ ของการจัดแบ่งดินระบบนี้ แบ่งเป็น
                  ดินเม็ดหยาบและดินเม็ดละเอียด โดยดินเม็ดหยาบจะจัดแบ่งจากการกระจายขนาดของเม็ดดิน (grain size
                  distribution) ส่วนดินเม็ดละเอียดจะใช้สมบัติความเหนียว (plasticity) ของดิน ดังนั้น การจัดแบ่งดินของระบบนี้

                  จะใช้เพียง sieve analysis และ Atterberg limits โดยการจําแนกดินในระบบ Unified แบ่งประเภทของดินไว้
                  15 กลุ่ม เป็นดินเม็ดหยาบ 8 กลุ่ม และดินเม็ดละเอียด 7 กลุ่ม ซึ่งดินเม็ดละเอียดประกอบด้วยดินอินทรีย์ 1 กลุ่ม
                  ในการจัดระดับความเหมาะสมของดินที่จะนําไปใช้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับชนิดของงาน เช่น งานก่อสร้างทางต้อง

                  เป็นพวกกลุ่มดินเม็ดหยาบ งานก่อสร้างแหล่งน้ําเป็นพวกที่อยู่ในกลุ่มดินเม็ดละเอียด (สุวณี, 2538)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42