Page 29 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           16



                                5) ระบายน้ําดี (well drained) เป็นดินที่มีความจุในการอุ้มน้ําปานกลาง มีน้ําไหลซึมผ่านไป
                  จากดินได้ง่ายและไม่เร็วนัก น้ําอิสระภายในดินอาจพบได้ในระดับลึกถึงลึกมากในบางช่วงของปี ดินยังมี
                  ความชื้นเหลืออยู่หลังจากฝนตกหรือภายหลังจากการระบายน้ําเข้าไปแล้ว

                                6) ระบายน้ําค่อนข้างมากเกินไป (somewhat excessively drained) เป็นดินที่มีสภาพการ
                  นําน้ําสูง มีการไหลซึมของน้ําไปจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ความจุในการอุ้มน้ําต่ํา เช่น ดินที่ประกอบไปด้วย
                  หินที่สลายตัวยังไม่หมด หรือมีเนื้อดินเป็นทรายจัด ดินมีช่องว่างในดินมาก ฤดูแล้งดินจะแห้งมาก มักไม่พบน้ํา
                  อิสระภายในดินหรือพบเฉพาะในระดับน้ําลึกมาก
                                7) ระบายน้ํามากเกินไป (excessively drained) เป็นดินที่มีสภาพนําน้ําสูงหรือสูงมาก มีการ

                  ไหลผ่านของน้ําไปจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ความจุในการอุ้มน้ําต่ํา เช่น ดินที่มีเศษหินมากและมีความ
                  ลาดชันสูง การไหลซึมผ่านของน้ําลงไปยังดินชั้นล่างมีน้อย ส่วนใหญ่ไหลบ่าผ่านผิวดินไปยังที่ต่ํากว่าทําให้ดิน
                  แห้งไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช มักไม่พบน้ําอิสระภายในดินหรือพบเฉพาะในระดับลึกมาก


                             การระบายน้ําของดินเป็นสมบัติดินที่นํามาใช้ในการจัดระดับความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพี
                  กลศาสตร์ โดยดินที่มีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลวมาก มีการไหลซึมของน้ําออกจากดินช้าถึงช้ามาก หรือมี
                  น้ําแช่ขังป็นเวลานาน ส่งผลให้ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน
                  การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน

                           3.12 ความลึกของระดับน้ําใต้ดิน (depth to ground water level)


                             ระดับน้ําใต้ดิน หมายถึง ระดับบนสุดของน้ําใต้ดิน (ground water) หรือระดับต่ําสุดซึ่งดินอิ่มตัว
                  ด้วยน้ํา (คณะกรรมการจัดทําพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ในเขตอากาศชื้นหรือกึ่งชื้น ระดับน้ําใต้ดินจะมี
                  ระดับสูงต่ําคล้ายคลึงกับความสูงต่ําของสภาพผิวหน้าภูมิประเทศแต่มีช่วงความกว้างน้อยกว่า สําหรับในพื้นที่ที่
                  เป็นแอ่งต่ํา ระดับน้ําใต้ดินจะอยู่ใกล้กับผิวดินมากกว่าที่สูง การขึ้นลงของน้ําใต้ดินตามฤดูกาลทําให้มีการ

                  ปลดปล่อยแร่เหล็ก แมงกานีสออกจากแร่ปฐมภูมิ เกิดเป็นจุดประสีและสารมวลพอกสะสมภายในหน้าตัดดิน
                  ดินที่มีระดับน้ําใต้ดินตื้นมีความไม่เหมาะสมในการสร้างถนน เพราะดินมีสภาพการคงตัวต่ํา ทําให้การอัดแน่น
                  เป็นไปด้วยความลําบากและต้องลงทุนสูง ส่งผลให้การดูดซึมน้ําทิ้งจากบ่อเกรอะลงสู่ดินไม่มีประสิทธิภาพ

                  และเป็นอุปสรรคในงานฐานรากของการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการสร้างอาคารต่ําๆ

                             สามารถอธิบายถึงลักษณะและความลึกของระดับน้ําใต้ดิน โดยดูจากสีดิน จุดประสี การระบายน้ํา
                  ของดิน หรือเขตความชื้นของดิน เช่น ดินที่เปียกถึงผิวหน้าดินเกือบตลอดเวลา สภาพความชื้นที่ดินอิ่มตัวด้วยน้ํา
                  เป็นระยะเวลานานจนเกือบไม่มีออกซิเจนที่ละลายน้ําอยู่เลย เกิดสภาพรีดักชันขึ้นในดิน การระบายน้ําเลวมาก
                  ทําให้ดินมีสีเทาปนน้ําเงิน ไม่มีจุดประสี ผิวหน้าพื้นที่จะเรียบหรือเป็นแอ่งต่ํา จะพบน้ําใต้ดินตื้นมากอยู่ใกล้

                  ผิวดิน ส่วนดินที่มีความจุในการอุ้มน้ําปานกลาง มีน้ําไหลซึมผ่านไปจากดินได้ง่ายและไม่เร็วนัก เป็นดินในเขต
                  ชื้นหรือกึ่งชื้น การระบายน้ําดี อาจพบน้ําใต้ดินในระดับลึกถึงลึกมากในบางช่วงของปี (Buol et al., 2011)

                           3.13 ความลึกของดิน (soil depth)


                             ความลึกของดิน หมายถึง ความหนาของชั้นดินตั้งแต่ผิวดินบนลงไปจนถึงชั้นดาน ชั้นที่มีก้อนกรวด
                  ลูกรังหรือเศษหินเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ชั้นหินพื้น ชั้นดานดินเหนียว ชั้นปูนมาร์ล
                  หรือชั้นดานอินทรีย์ เป็นต้น โดยชั้นความลึกของดินแบ่งเป็น 5 ชั้น ดังนี้ (เอิบ, 2548)
                                1) ดินตื้นมาก (very shallow soil) มีชั้นดินหนา 0 - 25 เซนติเมตร
                                2) ดินตื้น (shallow soil) มีชั้นดินหนา 25 - 50 เซนติเมตร
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34