Page 28 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           15



                  ตารางที่ 9 ระดับชั้นสภาพให้ซึมได้ของดิน

                                                                 ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน
                        ระดับชั้นสภาพให้ซึมได้ของดิน
                                                            นิ้วต่อชั่วโมง        เซนติเมตรต่อชั่วโมง

                           ช้ามาก                              < 0.05                   < 0.125
                           ช้า                               0.05 - 0.2                0.125 - 0.5
                           ช้าปานกลาง (ค่อนข้างช้า)           0.2 - 0.8                 0.5 - 2.0

                           ปานกลาง                            0.8 - 2.5                 2.0 - 6.25
                           เร็วปานกลาง (ค่อนข้างเร็ว)         2.5 - 5.0               6.25 - 12.5
                           เร็ว                               5.0 - 10.0              12.5 - 25.0

                           เร็วมาก                             > 10.0                   > 25.0

                  ที่มา: 0’Neal (1952)

                           3.11 การระบายน้ําของดิน (soil drainage)

                             การระบายน้ําของดิน หมายถึง ความมากน้อย ความถี่ และระยะเวลาของการมีน้ําแช่ขังอยู่ในดิน
                  หรือการที่น้ําไหลออกไปจากพื้นที่ ทั้งไหลผ่านผิวหน้าดินและไหลซึมลงไปยังดินชั้นล่าง ตรวจสอบได้จากการ
                  สังเกตถึงระยะเวลาที่มีน้ําแช่ขังโดยตรง หรือสังเกตจากลักษณะและสมบัติของดิน เช่น สีของดิน จุดประสี ดินที่

                  มีน้ําแช่ขังนานอยู่เป็นประจํา ดินจะมีการระบายน้ําเลว ทําให้ดินมีสีเทาและมีจุดประสีปะปนอยู่ในเนื้อดิน
                  ส่วนดินที่มีการระบายน้ําดี ดินจะมีสีเหลือง สีน้ําตาล หรือสีแดงตลอดและไม่พบสีจุดประ สีของดินจะแสดงให้
                  เห็นว่าดินนั้นขาดหรือไม่ขาดออกซิเจน ในดินที่ขาดออกซิเจนเหล็กจะอยู่ในรูปเฟอรัสออกไซด์ (FeO) ทําให้
                  ดินมีสีเทา ส่วนดินที่ไม่ขาดออกซิเจนเหล็กจะอยู่ในรูปเฟอริคออกไซด์ (Fe2O3) ทําให้ดินมีสีเหลือง สีน้ําตาล หรือ

                  สีแดงปะปนอยู่ในเนื้อดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) การระบายน้ําของดินแบ่งได้ 7 ชั้น ดังนี้
                                1) ระบายน้ําเลวมาก (very poorly drained) เป็นดินที่เปียกถึงผิวหน้าดินเกือบตลอดเวลา
                  มีการไหลซึมช้ามาก หรือมีน้ําแช่ขังนานในรอบปี ดินมีสีเทาปนน้ําเงิน ไม่มีจุดประสี น้ําใต้ดินตื้นมากอยู่ใกล้ผิวดิน

                  เช่น พื้นที่พรุ ที่ลุ่มต่ําน้ําขัง หรือป่าชายเลน ผิวหน้าพื้นที่จะเรียบหรือเป็นแอ่งต่ํา หนอง บึง และมีน้ําขังได้ง่าย
                                2) ระบายน้ําเลว (poorly drained) เป็นดินที่เปียกถึงผิวหน้าหรือเกือบถึงผิวหน้าดิน มีการ
                  ไหลซึมของน้ําออกไปจากดินช้ามาก มีน้ําท่วมนานในช่วงฤดูฝน ฤดูแล้งดินยังเปียกชื้นอยู่บ้าง มักพบน้ําอิสระใน
                  ระดับตื้นหรือตื้นมากในดินแทบตลอดเวลา ทําให้ดินมีสีเทาและพบจุดประสีเหลืองน้ําตาลหรือสีแดง มักพบ
                  ในที่ต่ํา บริเวณน้ําขังในระหว่างฤดูฝน หรือน้ําขังในที่ราบที่มีคันกั้นไว้

                                3) ระบายน้ําค่อนข้างเลว (somewhat poorly drained) เป็นดินที่แสดงความเปียกขึ้นมาอยู่
                  ใกล้กับผิวหน้าดินมากพอ มีการไหลซึมของน้ําออกไปจากดินยังช้าอยู่ ทําให้ดินชื้นนานพอที่จะเป็นอุปสรรคใน
                  การปลูกพืช ระดับน้ําใต้ดินลึกปานกลางถึงตื้นและมีน้ําแช่ขังในฤดูฝน ดินชั้นบนมีสีน้ําตาลหนา ดินชั้นล่างลงไป

                  จะเป็นสีเทาและพบจุดประสีตลอด
                                4) ระบายน้ําดีปานกลาง (moderately well draineds) เป็นดินที่อาจจะเปียกขึ้นมาใกล้กับ
                  ชั้นผิวดินมากพอหรือเปียกเป็นช่วงเวลานานพอ มีการไหลซึมของน้ําค่อนข้างช้า ดินเปียกอยู่เป็นบางเวลา ไม่มี
                  น้ําแช่ขัง ระดับน้ําใต้ดินค่อนข้างลึก และอาจเปียกถาวรในระดับดังกล่าวในช่วงฤดูฝน ทําให้เกิดจุดประสีปะปน

                  อยู่ในดินชั้นล่าง ไม่เหมาะสมสําหรับทํานา เหมาะสําหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33