Page 35 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           22



                  (poorly graded) การบดอัดดินตามมาตรฐานที่กําหนด ประเมินได้จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้น
                  (moisture content) ของดินในขณะที่ทําการบดอัด กับความหนาแน่นขณะแห้ง (dry density) ที่จะได้มา
                  หลังจากทําการบดอัดแล้ว ดังแสดงในภาพที่ 5 ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมประสิทธิภาพในการบดอัดดิน

                  โดยปริมาณความชื้นของดินที่จุดสูงสุด (optimum moisture content) จะบดอัดได้ความหนาแน่นของดิน
                  สูงสุด (maximum dry density) ตามมาตรฐานที่กําหนดและมีการทรุดตัวน้อยที่สุด






















                  ภาพที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นกับความหนาแน่นแห้งของดิน
                  ที่มา: The Constructor (2017)

                             เมื่อดินแบกรับน้ําหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น จะเกิดการยุบตัวทําให้ปริมาตรลดลง น้ําหนักที่เพิ่มขึ้นอาจ
                  เนื่องจากน้ําหนักของฐานรากโครงสร้าง คันดิน หรือการลดระดับน้ําใต้ดิน เป็นต้น ในกรณีที่ดินแบกรับน้ําหนัก
                  โครงสร้างและมีการยุบอัดตัวมากอาจทําให้โครงสร้างทรุดตัวเกิดความเสียหายได้ ดินบางชนิดอาจเกิดการยุบ

                  อัดตัวมากภายใต้น้ําหนักบรรทุกในขณะที่ดินบางชนิดอาจเกิดการยุบอัดตัวน้อย ถ้าทราบค่าการยุบอัดตัวของ
                  ดินและน้ําหนักที่กระทําก็สามารถประมาณค่าการทรุดตัวที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะทําให้การออกแบบและการ
                  ดําเนินงานระหว่างการก่อสร้างเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยแบ่งระดับการยุบอัดตัวของดินหลังบดอัดจากการ
                  จําแนกประเภทของดิน ได้ดังตารางที่ 16


                  ตารางที่ 16 ระดับการยุบอัดตัวของดินหลังบดอัด

                                ระดับ                            ประเภทของดิน
                                น้อย         - GW, GP, GM, GC, SW, SP, SM, SC

                                               ดินเม็ดหยาบ เช่น หิน กรวด และทราย
                              ปานกลาง        - ML, CL

                                               ดินเม็ดละเอียดที่มีค่าขีดจํากัดของเหลว ≤ 50%
                                 มาก         - MH, CH, OL, OH
                                               ดินเม็ดละเอียดที่มีค่าขีดจํากัดของเหลว > 50% หรือดินอินทรีย์

                           3.21 การต้านทานต่อการเกิดโพรงท่อและการกร่อน (resistance to piping and erosion)

                             การเกิดโพรงท่อ (piping) หมายถึง การกัดเซาะเป็นรูหรือโพรงคล้ายท่อ อันเนื่องจากน้ําไหลซึม
                  ผ่านหรือลอดใต้อาคารชลศาสตร์ หรือทํานบดินภายใต้แรงดันแล้วพาเม็ดดินออกไป (กรมชลประทาน, 2553)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40