Page 38 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           25



                             ระบบ Unified จะใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษแทนชื่อกลุ่มของดินแต่ละกลุ่มจะมีอักษร
                  อย่างน้อย 2 ตัว ตัวหน้าเป็นกลุ่มหลัก และตัวที่สองเป็นกลุ่มย่อยลงไป ตัวอักษรแต่ละตัวจะมีความหมาย ดังนี้

                             ดินเม็ดหยาบ
                                ดินเม็ดหยาบแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

                                   G  หมายถึง กรวด (gravel) ขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร
                                   S  หมายถึง ทราย (sand) ขนาดอนุภาคเท่ากับ 0.05 - 2.00 มิลลิเมตร

                                โดยกรวดและทรายยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย (อักษรตัวที่ 2) ได้อีก 4 กลุ่มย่อย คือ
                                   W  หมายถึง ดินที่มีขนาดเม็ดคละกันดี (well graded)
                                   P  หมายถึง ดินที่มีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี (poorly graded)

                                   M  หมายถึง ดินทรายแป้ง (Mjala = silt) ขนาดอนุภาคเท่ากับ 0.002 - 0.05 มิลลิเมตร
                                   C  หมายถึง ดินเหนียว (clay) ขนาดอนุภาคน้อยกว่า 0.002 มิลลิเมตร

                                สรุปได้เป็น 8 กลุ่ม สามารถเขียนชื่อแต่ละกลุ่มได้ดังนี้ คือ GW, GP, GM, GC, SW, SP,
                  SM และ SC


                                ดินที่มีขนาดเม็ดคละกันดี (well graded) ประกอบด้วยตัวแทนของตัวอย่างดินหลายๆ ขนาด
                  คละกันไปอย่างไม่ขาดตอนจากหยาบที่สุดถึงละเอียดที่สุด ส่วนดินที่มีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี (poorly graded)
                  ดินที่ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ที่มีขนาดเกือบเท่ากันหมดหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (กัญญา, 2527) สามารถแบ่งออก
                  ได้เป็น 2 ประเภท คือ ดินที่มีขนาดเม็ดขาดช่วง (gap graded) และดินที่มีเม็ดขนาดเดียว (uniform graded)

                                เพื่อให้หลักการพิจารณาการกระจายของเม็ดดินเป็นมาตรฐาน จึงได้กําหนดสูตรการคํานวณ

                  ค่าสัมประสิทธิ์สําหรับการกระจายขนาดของเม็ดดิน ใช้เฉพาะดินเม็ดหยาบ (สถาพร, 2541) ดังนี้

                                      สัมประสิทธิ์ความสม่ําเสมอ       Cu   =   D60                          (3)
                                                                                         D10


                                      สัมประสิทธิ์ความโค้ง              Cc   =   (D30)                      (4)
                                                                                    2
                                                                                       D10 x D60

                                ซึ่งเป็นสัมประสิทธิ์จากลักษณะของความโค้ง โดย D10, D30 และ D60 เป็นขนาดเส้น
                  ผ่านศูนย์กลางของเม็ดดิน (มิลลิเมตร) ที่เปอร์เซ็นต์ลอดผ่านตะแกรงที่ 10, 30 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ

                  ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ําเสมอเป็นการประเมินการกระจายของเม็ดดินที่เปอร์เซ็นต์ลอดผ่านตะแกรง 2 จุด
                  คือ 10 และ 60 เปอร์เซ็นต์ จากผลการคํานวณสามารถจําแนกการกระจายของดิน ได้ดังนี้ กรวดมีความคละกันดี
                  Cu มากกว่า 4 และ Cc อยู่ระหว่าง 1 - 3 ส่วนทรายมีความคละกันดี Cu มากกว่า 6 และ Cc อยู่ระหว่าง 1 - 3

                  และดินที่มีขนาดเม็ดดินสม่ําเสมอ Cu เท่ากับ 1

                                การกระจายตัวของเม็ดดินแสดงได้โดยการใช้กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้น
                  ผ่านศูนย์กลางของเม็ดดิน และเปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนักของเม็ดดินที่มีขนาดเล็กกว่าที่ระบุ ซึ่งเรียกกราฟ
                  ความสัมพันธ์นี้ว่า กราฟการกระจายตัวของเม็ดดิน (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา, 2558)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43