Page 27 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           14



                  อันดับอัลทิซอลล์และออกซิซอลส์ ส่วนแร่ฮาลลอยไซต์ เป็นแร่ที่มีโครงสร้างเป็นแร่ดินเหนียวประเภท 1:1
                  คล้ายกับเคโอลิไนต์ มักจะพบในดินที่เกิดจากแหล่งสะสมของตะกอนภูเขาไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเถ้าถ่าน
                  หรือแก้วภูเขาไฟ เป็นแร่ดินเหนียวที่พบทั่วไปในอันดับแอนดิซอลส์ ฮาลลอยไซต์มักเกิดในระยะแรกของ

                  กระบวนการผุพัง แต่มีความคงทนน้อยกว่าเคโอลิไนต์ และเมื่อเวลาผ่านไปฮาลลอยไซต์จะเปลี่ยนเป็นเคโอลิไนต์
                  แร่ดินเหนียวประเภท 1:1 จะมีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนและพื้นที่ผิวต่ํามาก

                             แร่ดินเหนียวประเภท 2:1 ที่พบโดยทั่วๆ ไป คือ เวอร์มิคิวไลต์และสเมกไทต์เป็นแร่ที่เกิดจากการ
                  สลายตัวของไมกาและคลอไรต์ แร่สเมกไทต์ที่พบทั่วไปมากที่สุดมีอยู่ 3 ชนิด คือ มอนต์มอริลโลไนต์ ไบเดลไลต์
                  และนอนโทรไนต์ ซึ่งแร่สเมกไทต์ขยายตัวได้มากกว่าเวอร์มิคิวไลต์ จะเห็นได้จากมีหลืบระหว่างชั้นใหญ่กว่า

                  โดยสเมกไทต์เป็นแร่ดินเหนียวที่มีพื้นที่ผิวและการดูดซับสูง หดตัวเมื่อแห้งและขยายตัวเมื่อเปียก (อัญชลี, 2534)
                  สมบัติเหล่านี้เห็นได้ชัดในอันดับเวอร์ทิซอลส์และในกลุ่มดินย่อยเวอร์ทิกของดินอันดับอื่นๆ สมบัติการยืดและ
                  หดตัวของแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 ส่งผลทําให้บ้านเรือน ถนน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ปลูกบนดินนี้มีการ
                  แตกร้าวและเคลื่อนที่ (ภาพที่ 3)
















                                                        (ก)                                        (ข)


                  ภาพที่ 3 ลักษณะของดินที่มีแร่ดินเหนียวประเภท 1:1 (ก) และ 2:1 (ข) เป็นองค์ประกอบหลัก

                           3.10 สภาพให้ซึมได้ของดิน (soil permeability)

                             ช่องว่างในดินมีลักษณะเป็นช่องเล็กๆ คดเคี้ยวไปมาต่อเนื่องถึงกันระหว่างเม็ดดิน ซึ่งน้ําจะไหล
                  ผ่านได้ และเมื่อน้ํามีความดันหรือระดับต่างกันระหว่าง 2 จุดในดิน ก็จะมีการไหลของน้ําผ่านช่องว่างเหล่านี้
                  ความสามารถของดินในการให้น้ําซึมผ่านได้นี้ เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สภาพให้ซึมได้ของดิน หรือค่า K

                  (coefficient of permeability) การที่น้ําจะไหลซึมผ่านไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ดินที่น้ําซึมผ่าน
                  ได้ง่าย เช่น ดินพวกกรวดหรือทราย ค่า K ก็จะสูง เรามักเรียกว่า “pervious soil” ถ้าน้ําซึมผ่านได้ยาก เช่น
                  ดินร่วนหรือดินเหนียว ค่า K จะต่ํา เรียกว่า “impervious soil”

                             สภาพให้ซึมได้ของดินหาได้จากค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน (hydraulic conductivity) ซึ่งเป็น

                  ตัวแปรที่บอกถึงขีดความสามารถของน้ําที่ไหลซึมผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินหรือรอยหินแตก โดยขึ้นกับขนาด
                  รูปร่าง และการเรียงตัวของเม็ดดินหรือรอยหินแตก ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า ดินเหนียวจะมีค่าสัมประสิทธิ์
                  การไหลซึมน้อยกว่าทรายและกรวด (กีรติ, 2552) โดยมีระดับชั้นสภาพให้ซึมได้ของดิน ดังตารางที่ 9

                             การเคลื่อนที่ของน้ําในดินมีผลต่อการวางแผนและการออกแบบแหล่งน้ํา ระบบระบายน้ํา
                  (drainage system) และใช้ประเมินศักยภาพของดินที่จะใช้กับระบบการดูดซึมสิ่งขับถ่ายจากบ่อเกรอะลงสู่ดิน

                  ธรรมชาติ (septic tank absorption field)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32