Page 26 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13



                  ตารางที่ 7 ระดับการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว

                                             ระดับ                       pH

                                               ต่ํา          4.0 - 5.4 (ดินทราย ดินอินทรีย์)

                                                              4.0 - 4.9 (ดินร่วน ดินเหนียว)
                                           ปานกลาง                2.0 - 4.0 และ > 8.5


                                               สูง                      0 - 2.0

                  ดัดแปลงจาก: สุวณี (2538)

                           3.8 ความเค็มของดิน (salinity)

                             ความเค็มของดินวัดได้จากค่าการนําไฟฟ้าของดิน (Electrical Conductivity; EC) มีหน่วยเป็น


                  เดซิซีเมนส์ต่อเมตรที่ 25 องศาเซลเซียส มีผลต่อการใช้ประโยชน์ของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ คือ เกิดการ
                  ผุกร่อนของเหล็กที่ฝังอยู่ในดินที่เป็นเกลือจัด และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเมื่อใช้ดินเป็นแหล่งหน้าดิน
                  หรือการใช้น้ําจากการชลประทาน ซึ่งมีเกลือละลายอยู่เป็นจํานวนมาก ปริมาณเกลือที่เป็นข้อจํากัดที่รุนแรง

                  มีผลต่อการผุกร่อนของเหล็ก คือ มากกว่า 4 เดซิซีเมนส์ต่อเมตรที่ 25 องศาเซลเซียส และปริมาณเกลือที่เป็น
                  ข้อจํากัดที่รุนแรง มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ มากกว่า 8 เดซิซีเมนส์ต่อเมตรที่ 25 องศาเซลเซียส
                  โดยสามารถแบ่งระดับความเค็มของดินที่มีผลต่อการผุกร่อนของเหล็กออกเป็น 4 ชั้น (Fraser et al., 1985)
                  ดังตารางที่ 8


                  ตารางที่ 8 ระดับความเค็มของดิน

                                                                         ค่าการนําไฟฟ้าของดิน
                                               ชื่อชั้น
                                                                          (เดซิซีเมนส์ต่อเมตร)

                                 ดินไม่เค็ม (non saline)                        0 - 4
                                 ดินเค็มเล็กน้อย (slightly saline)              5 - 8

                                 ดินเค็มปานกลาง (moderately saline)             9 - 15
                                 ดินเค็มมาก (strongly saline)                   > 15


                           3.9 แร่ดินเหนียว (clay mineral)

                             จัดเป็นแร่ในกลุ่มฟิลโลซิลิเกต (phyllosilicate mineral) เป็นกลุ่มของแร่ที่พบมากที่สุดใน
                  อนุภาคขนาดดินเหนียว และโดยทั่วไปเป็นแร่องค์ประกอบหลักของแร่ที่พบในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว
                  เกิดขึ้นจากผลของการผุพังสลายตัวของแร่ปฐมภูมิหลากหลายชนิดที่เป็นองค์ประกอบของหินเปลือกโลก และ

                  การสังเคราะห์ขึ้นในดิน แร่ดินเหนียวเป็นแร่ที่มีรูปร่างแบบแผ่น มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ อะลูมินัม
                  ซิลิคอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน มีอยู่มากมายหลายชนิดที่พบในเขตร้อน ได้แก่ แร่เคโอลิไนต์ ฮาลลอยไซต์
                  ทัลก์ ไพโรฟิลไลต์ อิลไลต์ เวอร์มิคิวไลต์ สเมกไทต์ คลอไรต์ ฟิลโลซิลิเกตสอดชั้น รวมทั้งซีโอไลต์ แอลโลเฟน
                  และอิมอโกไลต์ (อัญชลี, 2553)


                             แร่ฟิลโลซิลิเกตแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แร่ดินเหนียวประเภท 1:1 และแร่ดินเหนียวประเภท 2:1
                  โดยแร่ดินเหนียวประเภท 1:1 ที่พบมากในดินเขตร้อน ได้แก่ แร่เคโอลิไนต์ พบมากในดินที่มีการผุพังสูง เช่นใน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31