Page 22 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            9



                                7) ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl : sandy clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 20 - 35
                  มีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 28 และมีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 45
                                8) ดินร่วนเหนียว (cl : clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 27 - 40 และมีอนุภาค

                  ขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 20 - 46
                                9) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl : silty clay loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 27 - 40
                  และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งไม่เกินร้อยละ 20
                                10) ดินเหนียวปนทราย (sc : sandy clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 35
                  และมีอนุภาคขนาดทรายอย่างน้อยร้อยละ 45

                                11) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic : silty clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 40
                  และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 40
                                12) ดินเหนียว (c : clay) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 40 และมีอนุภาคขนาด

                  ทรายไม่เกินร้อยละ 45 และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 40

                             เนื้อดินจะมีผลต่อสมบัติทางกายภาพหลายประการ เช่น ความสามารถในการอุ้มน้ํา (water
                  holding capacity) ความสามารถในการถ่ายเทอากาศ (aeration) ความแข็งของดิน (soil strength)
                  ความสามารถของดินในการอุ้มน้ําและถ่ายเทอากาศมีความผูกพันกับจํานวนและขนาดของช่องในดิน ซึ่งได้รับ
                  ผลโดยตรงจากขนาดของอนุภาค ส่วนความแข็งของดินผูกพันกับความแข็งแรงของการเชื่อมยึดระหว่างอนุภาค

                  เดี่ยวโดยอิทธิพลของสารเชื่อม ความแข็งแรงของดินได้รับผลโดยอ้อมจากขนาดของอนุภาคโดยที่ว่าถ้าอนุภาคมี
                  ขนาดเล็ก พื้นที่ผิวสัมผัสรวมทั้งจุดสัมผัสระหว่างอนุภาคจะมีค่าเพิ่มขึ้น หากพื้นที่สัมผัสระหว่างอนุภาคมีค่า
                  เพิ่มขึ้น การเชื่อมยึดอนุภาคโดยสารเชื่อมจะมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                             การจําแนกเนื้อดินตามปริมาณของอนุภาคดิน มีความสัมพันธ์กับการแบ่งดินเม็ดหยาบและดิน

                  เม็ดละเอียดในระบบ Unified และ AASHO โดยดินทราย ดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย จัดอยู่ใน
                  กลุ่มดินเม็ดหยาบ เหมาะสมเป็นวัสดุรองพื้นทาง ก่อสร้างถนน ฐานรากรองรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
                  และอาคารต่ําๆ ในขณะที่ดินเหนียวจัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดละเอียดที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวสูง เหมาะสม
                  สําหรับการใช้เป็นบ่อขุด และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก


                           3.4 ชิ้นส่วนหยาบ (coarse fragments)

                             ชิ้นส่วนที่มีขนาด 2 มิลลิเมตรหรือใหญ่กว่า ที่ปะปนอยู่ในเนื้อดินตามชั้นดินต่างๆ และที่กระจัด
                  กระจายอยู่บนผิวดิน เป็นส่วนที่ทําให้ปริมาตรของเนื้อดินที่รากพืชสามารถชอนไชผ่านลดลง ซึ่งจะกระทบต่อ
                  การเจริญเติบโตของพืช ปริมาณความชื้น ธาตุอาหารในดิน การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการใช้เครื่องมือ

                  หรือเครื่องจักรกล (ส่วนมาตรฐานการสํารวจจําแนกดินและที่ดิน, 2551) ซึ่งปริมาณชิ้นส่วนหยาบที่อยู่
                  ปะปนกับเนื้อดินในชั้นดินต่างๆ มีหน่วยวัดเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และจะใช้เป็นคําคุณศัพท์
                  ขยายเนื้อดิน เช่น ดินร่วนเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก (vgcl: very gravelly clay loam) เป็นต้น
                  กรวด (gravel) เป็นคําเรียกตะกอนหรือชิ้นส่วนขนาดต่างๆ ในพิสัยตั้งแต่ 2 - 75 มิลลิเมตร ที่กลมหรือค่อนข้าง

                  กลม แต่ก็สามารถจะใช้เรียกชิ้นส่วนที่เป็นเหลี่ยมได้ถ้าหากว่าเป็นชิ้นส่วนที่ไม่แบน (เอิบ, 2548) ซึ่งปริมาณ
                  ชิ้นส่วนหยาบเป็นข้อจํากัดและอุปสรรคในการขุดและเตรียมดินสําหรับการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน โดยแบ่ง
                  ปริมาณชิ้นส่วนหยาบออกเป็นชั้น ดังตารางที่ 3
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27