Page 21 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8



                  ทั้งสองด้านที่กล่าวมานี้ จําเป็นต้องศึกษาสมบัติการลื่นไหลเมื่อสภาพความชื้นของดินเปลี่ยนแปลง โดยค่า
                  ขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติกนี้ใช้เป็นสิ่งคาดคะเนถึงความสามารถในการรับน้ําหนัก และการคงตัว
                  ของวัสดุที่นํามาใช้ในการก่อสร้างหรือเป็นฐานรองรับสิ่งก่อสร้าง

                           3.3 เนื้อดิน (soil texture)

                             เนื้อดินเป็นสมบัติทางกายภาพขั้นมูลฐาน ซึ่งจะมีผลควบคุมสมบัติทางกายภาพอื่นๆ ของดิน เนื้อดิน
                  สื่อความหมายด้านขนาดหรือความหยาบถึงละเอียดของอนุภาคอนินทรีย์ (inorganic particles) ที่เป็น
                  องค์ประกอบของดินนั้น สิ่งที่กําหนดประเภทของเนื้อดิน คือสัดส่วนโดยมวลของอนุภาคอนินทรีย์ 3 กลุ่มขนาด
                  (soil separates) คือ 1) อนุภาคทราย (sand) จัดเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุดในดิน 2) อนุภาคทรายแป้ง (silt)

                  จัดเป็นกลุ่มขนาดปานกลาง 3) อนุภาคดินเหนียว (clay) จัดเป็นกลุ่มขนาดเล็กที่สุดในดิน อนุภาคทั้งสามขนาด
                  มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร เมื่อรวมเข้าในสัดส่วนสัมพัทธ์ต่างๆ ก็จะได้ลักษณะเนื้อดินมากมาย
                  (เอิบ, 2552) แบ่งออกเป็น 12 ชั้น ดังนี้

                                1) ดินทราย (s : sands) มีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 85 และมีค่าร้อยละของอนุภาค
                  ขนาดทรายแป้ง รวมกับ 1.5 เท่าของค่าร้อยละของอนุภาคขนาดดินเหนียว น้อยกว่าร้อยละ 15 แบ่งออกเป็น
                                   - ทรายหยาบ (coarse sand) มีอนุภาคขนาดทรายหยาบมากและทรายหยาบรวมกัน
                  อย่างน้อยร้อยละ 25 และมีอนุภาคทรายขนาดอื่นๆ ชนิดเดียว น้อยกว่าร้อยละ 50
                                   - ทราย (sand) มีอนุภาคขนาดทรายหยาบมาก ทรายหยาบ และทรายหยาบปานกลาง

                  รวมกันอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีอนุภาคขนาดทรายหยาบมากและทรายหยาบรวมกันน้อยกว่าร้อยละ 25
                  และทรายละเอียด ทรายละเอียดมาก น้อยกว่าร้อยละ 50
                                   - ทรายละเอียด (fine sand) มีอนุภาคขนาดทรายละเอียดอย่างน้อยร้อยละ 50 หรือมี

                  อนุภาคขนาดทรายหยาบมาก ทรายหยาบ และทรายหยาบปานกลาง รวมกันน้อยกว่าร้อยละ 25 และมีอนุภาค
                  ขนาดทรายละเอียดมาก น้อยกว่าร้อยละ 50
                                   - ทรายละเอียดมาก (very fine sand) มีอนุภาคขนาดทรายละเอียดมาก อย่างน้อยร้อยละ 50
                                2) ดินทรายปนดินร่วน (ls : loamy sand) มีอนุภาคขนาดทรายในพิสัยร้อยละ 70 - 91 และ

                  มีค่าร้อยละของทรายแป้งรวมกับ 1.5 เท่าของค่าร้อยละของดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 15 และมีค่าร้อยละ
                  ของอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 2 เท่าของค่าร้อยละของอนุภาคขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 30
                                3) ดินร่วนปนทราย (sl : sandy loam) อาจจะ (1) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7 - 20
                  มีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 52 และค่าร้อยละของอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 2 เท่าของค่าร้อยละ

                  ของอนุภาคขนาดดินเหนียวอย่างน้อยร้อยละ 30 หรือ (2) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 7
                  มีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 50 และมีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 43
                                4) ดินร่วน (l : loam) มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7 - 27 มีอนุภาคขนาดทรายแป้งร้อยละ
                  28 - 50 และมีอนุภาคขนาดทรายไม่เกินร้อยละ 52

                                5) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil : silt loam) มีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 50 และ
                  มีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 12 - 27 หรือมีอนุภาคขนาดทรายแป้งร้อยละ 50 - 80 และมีอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12

                                6) ดินทรายแป้ง (si : silt) มีอนุภาคขนาดทรายแป้งอย่างน้อยร้อยละ 80 และมีอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26