Page 20 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7



                             4) ค่าดัชนีพลาสติก (plasticity index: PI) คือ ความแตกต่างระหว่างระดับความชื้นที่ขีดจํากัด
                  ของเหลวกับขีดจํากัดพลาสติก หรือความแตกต่างระหว่างระดับความชื้นที่ขีดจํากัดบนพลาสติกกับขีดจํากัดล่าง
                  พลาสติก ดัชนีพลาสติกเป็นค่าที่แสดงถึงความเหนียวของดิน และยังแสดงความไวต่อการเปลี่ยนสถานภาพต่อ

                  ความชื้นของมวลดินนั้น จึงเป็นค่าที่สําคัญในการจําแนกมวลดิน เป็นช่วงของปริมาณความชื้นที่ดินมีสภาพ
                  พลาสติก เปลี่ยนรูปร่างได้โดยไม่เกิดรอยแยกแตกร้าว ดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกสูงแสดงว่าเป็นดินที่มีปริมาณดิน
                  เหนียวอยู่มาก จะมีการทรุดตัวค่อนข้างสูงและเป็นการทรุดตัวที่ขึ้นกับเวลา เป็นค่าที่ใช้ในการคาดคะเนถึง
                  ความสามารถในการคงตัวหรือเปลี่ยนสภาพของดิน จากสภาพชื้นเปลี่ยนเป็นของเหลวที่ไหลได้ง่าย เช่น ดินที่มี
                  ค่าดัชนีพลาสติกเท่ากับ 5 เมื่อดูดน้ําเข้าไปเล็กน้อยก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวได้ง่าย ส่วนดินที่มีค่าดัชนี

                  พลาสติกเท่ากับ 20 จะต้องดูดน้ําเข้าไปมากกว่าจึงจะเปลี่ยนเป็นของเหลว

                                      วิธีหาค่าดัชนีพลาสติก    PI   =   LL – PL                             (1)

                             สุวณี (2538) วิเคราะห์ค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติกของดินในประเทศไทย พบว่า
                  ดินทราย (s) และดินทรายปนดินร่วน (ls) ไม่มีค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก ดินเหนียว (c) มีค่า
                  ขีดจํากัดของเหลวอยู่ในช่วง 30 - 91 และค่าดัชนีพลาสติกอยู่ในช่วง 5 - 55 ส่วนดินปนชิ้นส่วนหยาบ (gravel)
                  มีค่าขีดจํากัดของเหลวอยู่ในช่วง 18 - 70 และค่าดัชนีพลาสติกอยู่ในช่วง 4 - 48 สรุปความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อดิน

                  กับค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก ดังตารางที่ 2

                  ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อดินกับค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก


                                    เนื้อดิน               ค่าขีดจํากัดของเหลว       ค่าดัชนีพลาสติก

                         ดินทราย (s)                                 -                       -

                         ดินทรายปนดินร่วน (ls)                       -                       -

                         ดินร่วนปนทราย (sl)                       12 - 39                 1 - 18

                         ดินร่วน (l)                              22 - 43                 3 - 13

                         ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil)                  22 - 73                 5 - 48

                         ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl)                13 - 38                 5 - 16
                         ดินร่วนเหนียว (cl)                       24 - 58                 4 - 26

                         ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl)           13 - 78                 9 - 49

                         ดินเหนียวปนทราย (sc)                     23 - 64                 13 - 35

                         ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic)                27 - 86                 10 - 54

                         ดินเหนียว (c)                            30 - 91                 5 - 55
                         ดินปนชิ้นส่วนหยาบ (gravel)               18 - 70                 4 - 48


                             เฉลียว (2530) รายงานว่าการใช้ประโยชน์ของดินในงานด้านวิศวกรรมสามารถแบ่งการใช้
                  ประโยชน์ออกเป็น 2 ประเภท คือ การนําไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุโครงสร้าง (structural material)

                  และใช้เป็นฐานรองรับวัสดุก่อสร้าง (foundation material) ในการที่วิศวกรจะเลือกดินมาใช้ประโยชน์ในงาน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25