Page 18 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5



                        จะเห็นได้ว่าปัจจุบันระบบการจําแนกดินทางด้านวิศวกรรม มีด้วยกันหลายระบบขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่
                  เกี่ยวข้องและนําไปใช้ประโยชน์ เช่น ระบบ United States Department of Agriculture (USDA), Unified
                  Soil Classification (USC หรือ Unified), American Association of State Highway Officials (AASHO) และ

                  Federal Aviation Administration (FAA) เป็นต้น การจําแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ
                  วัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละสาขา ได้แก่ งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO งานด้านการใช้เป็นวัสดุ
                  ก่อสร้างถนนและงานสนามบินใช้ระบบของ FAA ส่วนงานวิศวกรรมทั่วไปใช้ระบบ Unified ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลาย
                  กว่าระบบอื่นๆ (กัญญา, 2527) โดยการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ประโยชน์ด้านปฐพีกลศาสตร์
                  (Soil Suitability for Engineering Used) เป็นการวินิจฉัยคุณภาพของดินตามข้อจํากัดของดิน เพื่อใช้เป็น

                  แนวทางในการวางแผนและข้อควรระวังในการปฏิบัติงาน (สุวณี, 2538)

                  3. ลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลต่องานทางด้านปฐพีกลศาสตร์


                        กิจกรรมด้านปฐพีกลศาสตร์จะต้องใช้ลักษณะและสมบัติของดิน เพื่อจําแนกระดับความเหมาะสม
                  ของดินและข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ โดยค่าของลักษณะและสมบัติบางประการของดินที่มีผลต่อพฤติกรรม
                  ด้านปฐพีกลศาสตร์ มีดังนี้

                           3.1 การกระจายขนาดของเม็ดดิน (grain size distribution)

                             การกระจายขนาดของเม็ดดินใช้ในการจําแนกดินทางด้านวิศวกรรมในระบบ Unified และ

                  AASHO เป็นการจําแนกดินเม็ดหยาบขนาดตั้งแต่ 0.075 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่น
                  (cohesionless soil) ผลจากการหาค่าการกระจายขนาดของเม็ดดินจะให้ข้อมูลดังนี้ ปริมาณชนิดของดิน
                  ลักษณะการกระจายขนาดของเม็ดดิน และขนาดของเม็ดดินที่ใหญ่ที่สุด (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2549)

                             การหาขนาดของเม็ดดินสามารถทําได้โดยการร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4  เบอร์ 10  เบอร์ 40 และ

                  เบอร์ 200 ที่มีขนาดช่องตะแกรง 4.75, 2.00, 0.425 และ 0.075 มิลลิเมตร ตามลําดับ จะได้ขนาดเม็ดดินและ
                  เปอร์เซ็นต์ที่ร่อนผ่านตะแกรง ซึ่งขนาดตะแกรงที่ใช้สามารถแบ่งชนิดของกรวด ทรายหยาบ ทรายหยาบปานกลาง
                  ทรายละเอียด และดินเม็ดละเอียดได้ เม็ดดินที่มีขนาดใหญ่กว่าตะแกรงเบอร์ 200 (0.075 มิลลิเมตรขึ้นไป)
                  ส่วนใหญ่จะไม่มีความเหนียวหรือแรงยึดเกาะระหว่างเม็ด ซึ่งเรียกว่าเป็นดินที่ไม่มีแรงเชื่อมแน่น (granular soil)

                  เช่น ดินทราย เป็นต้น ส่วนดินที่มีขนาดเล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 200 เรียกว่าดินที่มีแรงเชื่อมแน่น (cohesive soil)
                  เช่น ดินเหนียว เป็นต้น (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา, 2558)

                           3.2 ค่าขีดจํากัด Atterberg (Atterberg limits)

                             ค่าขีดจํากัด Atterberg คือ ค่าที่จะกําหนดสภาวะการมีลักษณะคล้ายของแข็งหรือของเหลวของ

                  ดินเม็ดละเอียด โดยอาศัยค่าปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในดิน และมีขีดจํากัดแบ่งบอกสถานะของดิน ถ้าพิจารณา
                  แบบจําลองของดินที่ประกอบด้วยเม็ดดินและน้ํา ในขณะที่ดินมีน้ําอยู่มากดินจะมีสภาพเป็นของเหลว
                  เมื่อความชื้นลดลง ปริมาตรของดินจะลดลงตามสัดส่วนของจํานวนน้ําที่ลดลง ดินจะเริ่มมีความแข็งและอยู่ตัว
                  ถ้าลดความชื้นลงไปอีกดินจะอยู่ในสถานะกึ่งของแข็งและสภาพของแข็ง (Atterberg, 1911) ดังภาพที่ 1
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23