Page 17 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            4



                        ในปี พ.ศ. 2516 โดย Land Classification Division and FAO Project Staff (1973) ได้จัดทําหนังสือ
                  Soil Interpretation Handbook for Thailand ซึ่งได้จัดระดับความเหมาะสมของดินไว้ 3 ระดับ คือ เหมาะสมดี
                  เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม เพื่อการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง

                  แต่การใช้ประโยชน์สําหรับงานเส้นทางแนวถนน บ่อขุด อ่างเก็บกักน้ํา คันกั้นน้ํา บ่อเกรอะ การสร้างโรงงาน
                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ การกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว การกัดกร่อนของ
                  คอนกรีต และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน ไม่ได้จัดระดับความเหมาะสมไว้ เป็นเพียงการวินิจฉัยตาม
                  ข้อจํากัดเท่านั้น

                        การวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในปี พ.ศ. 2526 โดยนันท์ (2526)

                  ได้ศึกษาข้อมูลที่ใช้พิจารณาความเหมาะสมของดินทางด้านวิศวกรรม โดยการจําแนกประเภทของดินในงาน
                  วิศวกรรมนั้นใช้ระบบ Unified Soil Classification (USC) และระบบ American Association of State
                  Highway Officials (AASHO) ซึ่งการพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องบ่อเกรอะ บ่อบําบัดน้ําเสีย บ้านพักอาศัย
                  ไม่เกิน 3 ชั้น ถนนในชนบท ดินคันทาง แหล่งทรายหรือกรวด แหล่งหน้าดิน บ่อขุด การชลประทาน คันดินและ

                  คลองส่งน้ํา จะพิจารณาจากสมบัติทางกายภาพ และปฐพีกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก

                        ปี พ.ศ. 2528 W.R. Fraser และคณะ (1985) ได้ศึกษา Interpretation of soil mapped in Waterhen
                  Area พบว่า การวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ แสดงไว้ด้วยระดับความเหมาะสมของดินมี 4 ระดับ
                  คือ เหมาะสมดี (good) เหมาะสมปานกลาง (fair) ไม่เหมาะสม (poor) และไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง (very poor)
                  และข้อจํากัดการใช้ประโยชน์


                        เฉลียวและคณะ (2532) ได้ศึกษาการวินิจฉัยคุณภาพของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผลของ
                  งานด้านการสํารวจและจําแนกดินสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะเจาะจงกับการใช้
                  ประโยชน์ทางด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว ยังสามารถนําผลงานด้านการสํารวจและจําแนกดินไปหา
                  ความสัมพันธ์ระหว่างการจําแนกดินทางด้านปฐพีศาสตร์กับการจําแนกดินทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งการ

                  วินิจฉัยสมบัติของชุดดินบางอย่างที่จําเป็นต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านวิศวกรรม เพื่อให้การวินิจฉัยความ
                  เหมาะสมของชุดดินถูกต้องและใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุดนั้น จําเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะ
                  ของดินบางอย่างเพิ่มเติม ได้แก่ การกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัดของเหลว ค่าขีดจํากัดพลาสติก และ

                  ค่าดัชนีพลาสติก กับการจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO ซึ่งสามารถจัดระดับความเหมาะสมของดิน
                  มี 4 ระดับ (เหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง ไม่เหมาะสม และไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง) เพื่อการใช้เป็นแหล่งทราย
                  หรือกรวด ส่วนการใช้ประโยชน์สําหรับงานอื่นๆ จะจัดระดับความเหมาะสมไว้ 3 ระดับ (เหมาะสมดี เหมาะสม
                  ปานกลาง และไม่เหมาะสม) รวมทั้งได้นําเสนอข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ในแต่ละดิน

                        สุวณี (2538) ได้ศึกษาหลักเกณฑ์การวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ตามกลุ่มชุดดินใน

                  ประเทศไทย โดยอ้างอิงจากหนังสือ Soil Interpretation Handbook for Thailand ร่วมกับหนังสือ
                  Interpretation of soil mapped in Waterhen Area จึงทําให้ได้หลักเกณฑ์การวินิจฉัยคุณภาพของดินด้าน
                  ปฐพีกลศาสตร์ คือ การจัดระดับความเหมาะสมของดิน 4 และ 3 ระดับ และข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ โดยใช้
                  สัญลักษณ์ตัวเลขแทนระดับความเหมาะสมของดิน และสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กแทน

                  ข้อจํากัดของดิน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22