Page 16 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            3



                                                            บทที่ 2

                                                      การตรวจเอกสาร


                  1. ความสําคัญของปฐพีกลศาสตร์

                        ปฐพีกลศาสตร์ (soil mechanics) เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาของ
                  ดินในเชิงวิศวกรรม เช่น กําลังรับแรง เสถียรภาพของดิน เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่พบในด้านวิศวกรรมโยธาที่
                  เกี่ยวข้องกับดิน ได้แก่ ดินใช้เป็นฐานรากของโครงสร้างสําหรับที่อยู่อาศัย ดินใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง วิศวกรจะต้อง
                  ออกแบบโครงสร้างพยุงดินสําหรับงานขุดดินและงานก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน และปัญหาอื่นๆ ที่ต้องอาศัย

                  ความรู้ความเข้าใจในวิชาปฐพีกลศาสตร์เป็นพื้นฐานในการแก้ไข (วิศิษฐ์, 2542)

                        กรมโยธาธิการและผังเมือง (2549) กล่าวว่า ปฐพีกลศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการเกิดหน่วยแรง (stress)
                  การรับน้ําหนัก (strength) และการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (deformation) ของมวลดินภายใต้น้ําหนักกระทําใน
                  รูปแบบและสภาวะต่างๆ โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติต่างๆ ของดิน เช่น ขนาด การจัดเรียงตัวของเม็ดดิน

                  และชนิดของดินว่าเป็นดินเหนียวหรือดินทราย เป็นต้น โดยมีปัจจัยสําคัญในมวลดินที่เป็นตัวแปรสําคัญต่อ
                  คุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดิน คือ น้ํา ในรูปของปริมาณความชื้น การไหลของน้ํา และแรงดันน้ํา

                        พรพจน์ (2550) กล่าวว่า ปฐพีกลศาสตร์ คือ การนําเอาหลักการและกฎในวิชากลศาสตร์ (mechanics)
                  และชลศาสตร์ (hydraulic) มาประยุกต์ใช้กับปัญหาทางด้านวิศวกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับดิน ดินมักจะถูกใช้
                  เป็นวัสดุทางด้านวิศวกรรมหรือใช้เป็นฐานรากของโครงสร้าง ดังนั้น วิศวกรจะต้องศึกษาถึงสมบัติและพฤติกรรม

                  ของดิน เช่น การกระจายขนาดของเม็ดดิน ความสามารถในการระบายน้ําของดิน การยุบตัวเมื่อถูกแรงกระทํา
                  และกําลังรับแรงเฉือนของดิน เป็นต้น

                        การวินิจฉัยคุณภาพของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ สามารถนํามาใช้
                  ประกอบการพิจารณาการวางแผนงานก่อสร้าง ในเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ํา การคมนาคม และการพัฒนาชุมชน

                  โดยให้มีการใช้วัสดุในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ (สุวณี, 2530) วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานต้องคํานึงถึงสภาพของ
                  พื้นที่และลักษณะของดิน ซึ่งผลของการสํารวจและจําแนกดินสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณา
                  เลือกสถานที่ที่จะทําการพัฒนาโครงสร้างงานทางด้านปฐพีกลศาสตร์ อีกทั้งเป็นการลดระยะเวลาและประหยัด

                  งบประมาณในการสํารวจข้อมูลภาคสนามได้อีกด้วย (เฉลียวและคณะ, 2531)

                  2. พัฒนาการของการศึกษางานวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพีกลศาสตร์

                        การวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพีกลศาสตร์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2510 โดย United States Department
                  of Agriculture and Soil Conservation Service (1967) ได้จัดระดับความเหมาะสมของดิน (suitability of

                  soil) เพื่อการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด และดินคันทาง มี 3 ระดับ คือ เหมาะสมดี (good)
                  เหมาะสมปานกลาง (fair) และไม่เหมาะสม (poor) ส่วนการใช้ประโยชน์สําหรับงานอื่นๆ จะไม่ได้จัดระดับ
                  ความเหมาะสมไว้ แต่เป็นการวินิจฉัยตามข้อจํากัด (degree of limitation) ในการใช้ประโยชน์ของดิน ว่ามี
                  ข้อจํากัดน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง โดยได้จัดทําหนังสือ Guide for Interpreting Engineering Uses of Soils

                  เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์ของดินทางด้านวิศวกรรม
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21