Page 19 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          10





                                       การทํางานเบื้องต้นของแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                                       สามารถแสดงให้เห็นตามภาพไดอะแกรมอย่างง่าย ดังต่อไปนี้





























                     ภาพที่ 1 หลักการทํางานของโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO (Hutchison, 2005)

                                โปรแกรมการปลูกพืชส่วนใหญ่จะใช้ในการพยากรณ์ผลผลิตของพืชล้มลุกแต่โปรแกรม
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO สามารถใช้พยากรณ์ได้ทั้งพืชล้มลุกและพืชยืนต้น รูปแบบการทํางาน
                     ของโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  มีรูปแบบการคิดเหมือนกับกระบวนการคิดของมนุษย์

                     ในการเลือกพืชเพื่อปลูกในพื้นที่ ซึ่งสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เคยพบเห็นชนิดพืชที่สามารถ
                     เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะของดินและภูมิอากาศต่างๆ มาใช้พิจารณาในการจับคู่ชนิดพืชกับดิน
                     และภูมิอากาศที่เราคุ้นเคยได้ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด แต่โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                     มีประสิทธิภาพการทํางานที่เหนือกว่ากระบวนการคิดของมนุษย์ในแง่ที่ยอมให้เราสามารถพิจารณาหรือ
                     ตัดสินใจในการจัดความเหมาะสมของพืชกับสภาพแวดล้อมที่เราไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนและสามารถ
                     ทํางานได้ในปริมาณมาก

                                ในการทํานายผลการเจริญเติบโตของพืชด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                     เพื่อประเมินข้อจํากัดในการปลูกนั้น โปรแกรมจะแสดงข้อจํากัดของปัจจัยด้านดินและภูมิอากาศที่ส่งผล

                     กระทบต่อผลผลิตให้มีการลดหลั่นลงตามปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยโปรแกรม
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO จะจัดระดับความรุนแรงของข้อจํากัด (limitation  rating;  LR) ที่
                     ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตพืชไว้ 9 ระดับ โดยระดับความรุนแรงของข้อจํากัดจะจัดจาก 0-9
                     (0 : ไม่มีข้อจํากัด - 9 : ไม่เหมาะสม)  ซึ่งระดับความรุนแรงของข้อจํากัดจะผกผันกับระดับความเหมาะสม

                     ของประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตพืช โดยการจัดระดับความเหมาะสมจะจัดจาก 9 ไปยัง 0 (9 : เหมาะสม
                     ดีมาก - 0 : ไม่เหมาะสม) ซึ่งระดับความรุนแรงของข้อจํากัดจะแสดงในรูปของเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพใน
                     การให้ผลผลิตสูงสุดของพืชที่ได้กําหนดไว้ในแฟ้มข้อมูลพืช มีรายละเอียดดังตารางที่ 2 ดังนี้
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24