Page 24 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          15


                     4. ข้อมูลทั่วไป

                           4.1 ที่ตั้งและอาณาเขต


                                จังหวัดนครราชสีมาตั้งอยู่ บริเวณตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจาก
                     กรุงเทพมหานคร 255 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15-18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 102-103 องศาตะวันออก
                     มีพื้นที่ 20,493 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,808,728 ไร่ ประกอบด้วย 32 อําเภอ ได้แก่ อําเภอเมืองนครราชสีมา
                     สีคิ้ว ขามสะแกแสง สูงเนิน คง ห้วยแถลง ครบุรี เสิงสาง จักราช บ้านเหลื่อม ชุมพวง หนองบุญมาก โชคชัย

                     แก้งสนามนาง ด่านขุนทด โนนแดง ขามทะเลสอ วังน้ําเขียว โนนไทย เฉลิมพระเกียรติ โนนสูง เทพารักษ์
                     บัวใหญ่ เมืองยาง ประทาย  ลําทะเมนชัย ปักธงชัย พระทองคํา ปากช่อง บัวลาย พิมาย และสีดา โดยมี
                     อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง (ภาพที่ 2) ดังนี้

                                      ทิศเหนือ ติดต่อเขตจังหวัดชัยภูมิ ด้านอําเภอเทพารักษ์ ด่านขุนทด พระทองคํา คง
                     บ้านเหลื่อม และแก้งสนามนาง ติดต่อกับเขตจังหวัดขอนแก่น ด้านอําเภอบัวใหญ่ บัวลาย และประทาย

                                      ทิศตะวันออก ติดต่อเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ด้านอําเภอประทาย เมืองยาง ลําทะเมนชัย
                     ชุมพวง ห้วยแถลง จักราช หนองบุญมาก และเสิงสาง
                                      ทิศใต้ ติดต่อเขตจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ด้านอําเภอปากช่อง วังน้ําเขียว
                     และครบุรี มีภูเขาดงพญาเย็นกั้นเขตแดนจดเขตจังหวัดปราจีนบุรี ด้านอําเภอวังน้ําเขียว และครบุรี มีเทือกเขา

                     เขียวเขากบินทร์ เขาบรรทัด และเขาสันกําแพงกั้นเขตแดน
                                      ทิศตะวันตก ติดต่อเขตจังหวัดลพบุรี และสระบุรี มีเทือกเขาดงพญาเย็นกั้นเขตแดน
                     ติดต่อด้านอําเภอด่านขุนทด สีคิ้วและปากช่อง

                           4.2 ทรัพยากรน้ํา

                                4.2.1 แหล่งน้ําตามธรรมชาติ

                                      แหล่งน้ําธรรมชาติที่สําคัญของจังหวัดนครราชสีมามี 9  ลุ่มน้ํา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ําที่อยู่ใน

                     จังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 20,905 ตารางกิโลเมตร อําเภอที่ได้รับน้ําจากลุ่มน้ํา ได้แก่ อําเภอชุมพวง พิมาย
                     ห้วยแถลง จักราช โนนสูง เมือง เสิงสาง ครบุรี โชคชัย ปักธงชัย สูงเนิน ปากช่อง ขามทะเลสอ สีคิ้ว โนนไทย
                     ประทาย โนนแดง บัวใหญ่ ขามสะแกแสง คง แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อมและหนองบุญมาก รวม 23 อําเภอ
                     มีรายละเอียดลุ่มน้ําต่างๆ (วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, 2554) ดังนี้

                                      1) ลุ่มน้ํามูล ต้นกําเนิดเกิดจากเขาวง และเขาละมัง ของเทือกเขาสันกําแพงในเขต

                     อําเภอปักธงชัย ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านท้องที่อําเภอปักธงชัย และจักราชวกไปทาง
                     ตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอําเภอโนนสูง พิมาย ชุมพวง ลําน้ําสายหลัก คือ แม่น้ํามูล มีน้ําไหลตลอดปีและ
                     ค่อนข้างมากในฤดูฝน ประชากรตามริมฝั่งลุ่มน้ํามูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทํานาและทําไร่ นอกจากนี้ลุ่มน้ํามูล
                     ยังมีโครงการชลประทานขนาดใหญ่ คือ โครงการเขื่อนพิมายสร้างกั้นลําน้ําที่อําเภอพิมายรวมทั้งฝายหินทิ้ง และ

                     โครงการสูบน้ําด้วยไฟฟ้าเพื่อนําน้ําไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

                                      2) ลุ่มน้ําลําปลายมาศตอนปลาย มีลําน้ําสายหลัก คือ ลําปลายมาศ ซึ่งมีต้นน้ําอยู่ใน
                     อําเภอเสิงสาง คือ ลุ่มน้ําลําปลายมาศตอนต้น ไหลผ่านอําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์แล้วไหลเข้าสู่
                     จังหวัดนครราชสีมาเป็นลุ่มน้ําลําปลายมาศตอนปลาย โดยไหลลงสู่แม่น้ํามูลที่ตอนเหนือของอําเภอชุมพวง
                     ประชากรส่วนใหญ่ตามริมฝั่งลําน้ําประกอบอาชีพทํานาและทําไร่เป็นส่วนใหญ่ มีน้ําไหลตลอดปีแต่ฤดูแล้ง

                     จะมีปริมาณน้ําน้อยจนไม่สามารถนํามาใช้ในการเกษตรได้
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29