Page 16 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            7


                                         ในฤดูฝน ถ้าพื้นที่แฉะควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง ถ้าดินระบายน้ําดีปลูกบนพื้น
                     ราบก็ได้ ปักท่อนพันธุ์ตั้งหรือเอียงให้ลึกประมาณ 5–10 เซนติเมตร สําหรับการปลูกในฤดูแล้งไม่จําเป็นต้อง

                     ยกร่อง แต่ควรปลูกปักตั้งหรือเอียงให้ลึกกว่าการปลูกในฤดูฝน คือ 10–15 เซนติเมตร จะช่วยให้ท่อนพันธุ์มี
                     ความงอกและมีความอยู่รอดสูง การปลูกบนพื้นที่ที่มีความเอียง ควรปลูกโดยการยกร่องขวางแนวลาดเอียง

                                      4) การดูแลรักษาและการปรับปรุงดูแลรักษาดินเพื่อเพิ่มผลผลิต

                                         (1) การใช้ปุ๋ยเคมี

                                            การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังได้อย่างชัดเจน
                     สะดวก แต่ต้องลงทุน ชนิดปุ๋ยเคมีที่แนะนําให้ใช้เนื่องจากหาซื้อง่าย ได้แก่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ สูตร

                     13-13-21 โดยใช้ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ สําหรับมันสําปะหลังที่ปลูกต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยเคมีภาย
                     หลังจากการกําจัดวัชพืชครั้งแรกในช่วง 1–3 เดือนหลังปลูก มันสําปะหลังที่ปลูกปลายฤดูฝน อาจยืดระยะเวลา
                     ออกไปได้เล็กน้อยในช่วง 2–3 เดือนหลังปลูก การใส่ปุ๋ยเคมีช้าไปกว่านี้ทําให้การเจริญเติบโต ในระยะแรกของ
                     มันสําปะหลังไม่ดีเท่าที่ควร การสร้างพุ่มใบเพื่อคลุมพื้นที่ล่าช้าทําให้เกิดปัญหาวัชพืชในระหว่างแถว และ
                     เกิดการสูญเสียหน้าดินจากแปลงปลูกได้ง่ายเวลาที่เหมาะสมของการใส่ปุ๋ย ดินต้องมีความชื้นปกติมักใส่หลัง

                     ฝนตก 1–2 วัน เมื่อได้รับฝนอีกครั้งหนึ่งปุ๋ยก็ละลายเป็นประโยชน์ต่อมันสําปะหลัง วิธีการใส่เพื่อป้องกันการ
                     สูญเสียปุ๋ยให้ขุดเป็นหลุมด้วยจอบห่างจากต้นประมาณ 20–30 เซนติเมตร แล้วกลบ เกษตรกรบางรายที่ใช้
                     รถไถเดินตาม ช่วงกําจัดวัชพืชครั้งแรกก็สามารถใส่ปุ๋ยเคมีในร่องข้างต้นมันสําปะหลังแล้วใช้จอบเกลี่ยกลบ

                     ปุ๋ยในขณะกําจัดวัชพืชระหว่างต้นมันสําปะหลังเป็นการประหยัดต้นทุนแรงงานในการขุดหลุม

                                         (2) การใช้ปุ๋ยหมัก

                                            ปุ๋ยหมักถึงแม้ว่าจะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่ในปริมาณต่ําแต่ช่วยให้
                     โครงสร้างของดินโปร่งถ่ายเทอากาศได้ดี ช่วยดูดซับน้ํา และธาตุอาหารที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีไว้ในดินได้
                     นาน ในปัจจุบันมีการผลิตใช้เองจากเศษเหลือจากพืชในแปลงวัชพืช นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตจําหน่ายโดยทํา
                     จากวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ําตาล โรงงานสับปะรด โรงงานสุรา เป็นต้น

                                         (3) การใช้ปุ๋ยพืชสด

                                            ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้จากการไถกลบพืชที่ยังสด หรืออยู่ในระยะออก

                     ดอก แล้วจึงไถกลบลงไป หรืออาจได้จากการไถกลบเศษพืชต่างๆ ที่ทิ้งไว้ในไร่ ภายหลังจากการเก็บเกี่ยว
                     พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วเขียวและถั่วลาย ซึ่งนิยมใช้กับพื้นที่ปลูกพืชไร่
                     นอกจากนั้นยังนิยมใช้พืชคลุม เช่น ถั่วคาโลโปโกเนียม ไมยราบไร้หนาม ถั่วคุดซู่ ถั่วสโตโล เป็นต้น

                                         (4) การอนุรักษ์ดิน

                                            พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังโดยทั่วไปมักลาดเอียงไม่สม่ําเสมอ และเนื้อดินส่วนใหญ่เป็น

                     ดินร่วนปนทรายจึงทําให้เกิดการชะล้างพังทลายได้สูงมาก โดยเฉพาะช่วงอายุ 1–3 เดือนที่ปลูกมันสําปะหลัง
                     เนื่องจากระยะระหว่างต้นกว้างทําให้ทรงพุ่มไม่ชิดกันจึงเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ทั้งจาก
                     น้ําฝนและแรงลมวิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยลดการชะล้างพังทลายสามารถทําได้ ดังนี้

                                            วิธีทางเขตกรรม คือเตรียมดินด้วยผาน 3 และ 7 ยกร่องปลูกในแนวระดับ ใช้
                     ระยะห่างระหว่างร่อง 80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 80 เซนติเมตร และมีการใส่ปุ๋ยช่วยให้มันสําปะหลัง

                     เติบโตได้เร็วพุ่มใบปกคลุมผิวดินได้รวดเร็วลดการสูญเสียดินได้มาก และยังทําให้ผลผลิตสูงด้วย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21