Page 17 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            8


                                            วิธีการจัดระบบการปลูกพืช โดยสามารถใช้แนวป้องกันบนพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่
                     มีการชะล้างพังทลาย ทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ใช้หญ้าแฝกปลูกเป็นแนวขวางความลาดชันตามแนวระดับ โดย

                     ปลูกหญ้าแฝกด้วยระยะห่างระหว่างหลุม 10 เซนติเมตร หลุมละ 1 ต้น จํานวนแถวแฝกจะขึ้นอยู่กับความลาดชัน

                                         (5) การกําจัดวัชพืช

                                            วัชพืชหรือ “รุ่น” เป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลงตลอดฤดูปลูก
                     ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกําจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1–4 เดือนแรก
                     ของการปลูก ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืช โดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การปล่อยให้
                     วัชพืชแข็งแรงเจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอกจะกําจัดทําลายยากและยืดเยื้อใช้ต้นทุนสูง ทําให้มันสําปะหลัง

                     แคระแกรนผลผลิตต่ํา

                                            การกําจัดวัชพืชเป็นสิ่งจําเป็น หากปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสําปะหลัง
                     โดยไม่มีการกําจัดเลยจะทําให้ผลผลิตลดลงประมาณ 25–50 เปอร์เซ็นต์ การกําจัดวัชพืชควรทําอย่างน้อย
                     2 ครั้ง คือช่วงมันสําปะหลังอายุประมาณ 30 วัน และประมาณ 60 วัน และควรมีการกําจัดวัชพืชเพิ่มเติม
                     หากยังมีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น


                           3.2 การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (land suitability classification)

                                ประเทศไทยได้นําระบบการวินิจฉัยและประเมินค่าที่ดินมาจากหลายสถาบัน ได้แก่ ระบบของ
                     กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA system : United States Department of Agriculture System)
                     ระบบของสํานักงานฟื้นฟูที่ดินของสหรัฐอเมริกา (USBR system : United States Bureau of Land Reclaimation
                     System) และระบบขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO : Food and Agriculture Organization)

                     กรมพัฒนาที่ดินได้พัฒนาระบบการวินิจฉัยและประเมินค่าที่ดินทางด้านการเกษตรจากระบบของกระทรวง
                     เกษตรของสหรัฐอเมริกา และขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ มาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 ใน
                     ขณะเดียวกัน เมื่อมีการทําแบบจําลองการปลูกพืชขึ้นในต่างประเทศ จึงได้มีผู้นํามาใช้ในประเทศไทย เช่น
                     แบบจําลอง CROPWAT WOFOST DSSAT  และ PLANTGRO  เป็นต้น ซึ่งแบบจําลองนี้จะต้องใช้ข้อมูล

                     พื้นฐาน (data base) มากน้อยต่างกัน การที่จะนําการวินิจฉัยและประเมินค่าที่ดินวิธีใดมาใช้ จึงต้องพิจารณา
                     ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ โดยอาจใช้ระบบเดียวหรือบูรณาการหลายๆ ระบบเข้าด้วยกัน

                                การจัดชั้นความเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้น กรมพัฒนาที่ดินได้ยึด
                     หลักการในการประเมินคุณภาพที่ดินในระบบขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
                     (FAO : Food and Agriculture Organization) มาใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินโดยหลักการของ FAO

                     Framework  เนื่องจากสามารถใช้ได้ในทุกระดับมาตราส่วนของการสํารวจ และประเมินคุณภาพที่ดินนั้นๆ
                     ว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการพัฒนาเป็นคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดิน
                     (Qualitive Land Evaluation) และมีการใช้จัดระดับความเหมาะสมของที่ดินสําหรับมันสําปะหลัง เพื่อ

                     กําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมันสําปะหลังที่มีการประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ
                     พร้อมทั้งประเมินต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตตลอดจนสภาพปัญหาความต้องการของเกษตรกร
                     กําหนดเป็นเขตความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังระดับต่างๆ โดยการจัดทําฐานข้อมูลแผนที่
                     เพื่อให้ผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องนําไปใช้ประโยชน์ได้ (ธีระยุทธ และคณะ, 2552)

                                สําหรับมันสําปะหลังมีการพัฒนาแบบจําลอง GUMCAS (ชื่อของแบบจําลองที่มาจากภาษาตากาล็อก

                     GUMaya  และภาษาอังกฤษว่า CASsava  หมายถึง มันสําปะหลัง) โดยโครงการ IBSNAT  (The  International
                     Benchmark Sites Network for Agrotechnology Transfer) ซึ่งบรรจุอยู่ในโปรแกรมระบบสนับสนุนการ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22