Page 22 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
(1) ปริมาณน้ําฝน (rainfall; mm)
(2) การระเหยของน้ํา (evaporation; mm)
(3) การให้น้ํา (irrigation; mm)
(4) การเกิดน้ําท่วม (flooding - worning value) ได้แก่ การเกิดหรือไม่เกิดน้ําท่วม
(5) ความยาวของวัน (day length; hrs)
-2
-1
(6) พลังงานแสงอาทิตย์ (solar radiation - average daily; MJ m day )
o
(7) อุณหภูมิ (temperature; C) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุด ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ําสุด
และค่าอุณหภูมิต่ําสุด
-1
(8) ความเร็วลม (wind speed; km hr ) ได้แก่ ความเร็วลมเฉลี่ย และความเร็วลมสูงสุด
(9) ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity; %)
3.3.2 การประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
Davidson (1995) รายงานถึง การนําเอาโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
มาใช้ในการประเมินและตัดสินใจของเกษตรกรและสามารถพิจารณาถึงผลกระทบของดินและภูมิอากาศในการ
เจริญเติบโต ซึ่งสามารถทราบว่าจะปลูกพืชชนิดใด ที่ไหนและให้ผลผลิตเท่าใด ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
สหัสชัย และสัญชัย (2542) ได้วิจัยการวินิจฉัยและประเมินกําลังผลิตของดิน ในการ
ปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ (ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด และยาสูบ) โดยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช
PLANTGRO ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปลูกบน 7 ชุดดิน คือ ชุดดินหางดง (Hd) ชุดดินสันทราย (Sai)
ชุดดินท่าม่วง (Tm) ชุดดินห้างฉัตร (Hc) ชุดดินโคราช (Kt) ชุดดินสันป่าตอง (Sp) และชุดดินน้ําพอง (Ng)
โดยได้เปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากแปลงทดลองในพื้นที่กับผลผลิตที่ได้จากการคาดคะเน (prediction) โดย
แบบจําลอง พบว่า ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการคาดคะเนโดยแบบจําลอง ใกล้เคียงกับผลผลิตที่ได้จาก
แปลงทดลอง และผลการเปรียบเทียบค่าการยอมรับ (agreement index) ของผลผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่
ปลูกทดสอบ มีค่าใกล้เคียง 1 แสดงว่าปริมาณผลผลิตที่ได้จากการคาดคะเนด้วยแบบจําลอง และแปลง
ทดสอบในพื้นที่เกษตรกรมีความสอดคลองกัน
Kuneepong et al. (2009) ได้ศึกษาการใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
ร่วมกับโปรแกรมการประเมินค่าที่ดิน ALES (Automated Land Evaluation System) ในการประเมินผลผลิต
ของกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ในชุดดินเชียงใหม่ (Cm) ชุดดินกําแพงเพชร (Kp) ชุดดินคลองนกกระทุง (Knk)
และชุดดินชลบุรี (Cb) โดยกําหนดให้ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land utilization type : LUT) เป็นประเภท
ที่มีการจัดการดีปานกลาง (moderate input) โดยทําการศึกษาในแปลงของเกษตรกรได้ผล ดังนี้
โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ได้พยากรณ์ผลผลิตของกล้วยไข่พันธุ์
เกษตรศาสตร์ 2 ในชุดดินเชียงใหม่ได้ 123.9 ตันต่อไร่ต่อปี (ไม่เหมาะสมแต่แก้ไขได้) ในชุดดินกําแพงเพชรได้
128.2 ตันต่อไร่ต่อปี (ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย) ในชุดดินชลบุรีได้ 91.6 ตันต่อไร่ต่อปี (ไม่เหมาะสมแต่แก้ไขได้)
และพบว่าสอดคล้องกับผลผลิตจริงคือ 122.1, 115.8 และ 85.9 ตันต่อไร่ต่อปี ตามลําดับ ส่วนในชุดดินคลอง
นกกระทุงได้ 90.3 ตันต่อไร่ต่อปี (ไม่เหมาะสมแต่แก้ไขได้) ไม่สอดคล้องกับผลผลิตจริงซึ่งได้ 138.3 ตันต่อไร่ต่อปี
ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากเกษตรกรมีการจัดการที่ดีมาก (High input) เช่น มีการให้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี มีการให้น้ํา เป็นต้น
โปรแกรมการประเมินค่าที่ดิน ALES พบว่า ชุดดินเชียงใหม่ ชุดดินกําแพงเพชร และ
ชุดดินคลองนกกระทุงอยู่ในชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย แต่ชุดดินชลบุรีเป็นชั้นที่ไม่เหมาะสม แต่แก้ไขได้ใน
ระดับการจัดการที่ดีมาก พบว่า ได้ผลผลิต 121.3, 188.1, 183.1 และ 16.9 ตันต่อไร่ต่อปี ตามลําดับ