Page 23 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          14


                                      สุเทพ และสมปอง (2553) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ร่วมกับโปรแกรม
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO มาใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

                     ทางการเกษตรกรรม (ซึ่งพื้นที่นี้ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเหมาะสมปลูกปาล์มน้ํามัน) มาเป็นพื้นที่เป้าหมายหลัก
                     ในการกําหนดเขตพื้นที่ปลูกปาล์มน้ํามัน (zoning) ภายใต้โครงการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ํามัน เพื่อเป็นพืช
                     ทดแทนพลังงาน โดยรวบรวมข้อมูลการใช้ที่ดิน ข้อมูลดิน ในพื้นที่นาร้าง ที่ทิ้งร้างเสื่อมโทรม พื้นที่ลุ่มและ
                     พื้นที่ดินเปรี้ยวทุ่งรังสิตที่เป็นสวนส้มร้าง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา


                                      ภูษิต (2553) ใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในการพยากรณ์
                     ผลผลิตของกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2  ในจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก กําแพงเพชร
                     และสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดชั้นความเหมาะสมตามแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่ง
                     สหประชาชาติ ในระดับการจัดการของเกษตรกร เปรียบเทียบกับผลผลิตของกล้วยไข่ที่ได้จากการพยากรณ์
                     ของโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในระดับการจัดการของเกษตรกรและการจัดการ

                     ระดับสูง พบว่า วิธีการจัดการของเกษตรกรในทุกจังหวัด ชั้นความเหมาะสมตามแนวทางขององค์การ
                     อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  ชุดดินส่วนใหญ่
                     จะตกอยู่ในชั้นเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม และในการจัดการระดับสูงโดยโปรแกรม PLANTGRO

                     ผลที่ได้จากการจัดการระดับสูงทําให้เห็นว่าดินส่วนมากจะปรับระดับความเหมาะสมสูงขึ้น จากเหมาะสม
                     เล็กน้อยและไม่เหมาะสมเป็นเหมาะสมปานกลางและเหมาะสมสูง เนื่องจากพิจารณาจากข้อมูลนําเข้าที่
                     ละเอียดกว่า เช่น การควบคุมความชื้น โรค แมลงและการปรับปรุงบํารุงดิน เป็นต้น

                                      ปรีชา (2554) ได้จัดทําการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อปลูกมะม่วงหิมพานต์ ในจังหวัด
                     นราธิวาสโดยใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในการสนับสนุนการจัดชั้นความเหมาะสม

                     ของดิน และวางแผนการปลูกมะม่วงหิมพานต์ พบว่า การจัดชั้นความเหมาะสมของดินตามแนวทางของ
                     กรมพัฒนาที่ดิน และการจัดชั้นโดยใช้แบบจําลองการปลูกพืชให้ผลที่แตกต่างกัน เนื่องจากการจัดชั้นความ
                     เหมาะสมของดินตามแนวทางของกรมพัฒนาที่ดินเป็นการใช้หลักเกณฑ์อย่างกว้างๆ โดยไม่มีปัจจัย
                     ภูมิอากาศมาเกี่ยวข้อง ในขณะที่การจัดชั้นโดยอาศัยแบบจําลองการปลูกพืชใช้หลักการขององค์การอาหาร

                     และเกษตรแห่งสหประชาชาติจะได้ผลที่ต่างออกไป เนื่องจากจะพิจารณาจากปัจจัยที่ค่อนข้างละเอียดกว่า
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28