Page 18 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            9


                     ตัดสินใจเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร DSSAT แบบจําลองนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อจําลองการเจริญเติบโต
                     ผลผลิตและพลวัตของน้ําในดิน ภายใต้สภาวะแวดล้อมและการจัดการที่เฉพาะเจาะจง อีกทั้งมีการพัฒนา

                     แบบจําลองพันธุ์มันสําปะหลังของไทยจนสามารถนํามาใช้ศึกษาศักยภาพของผลผลิต และการผลิตในสภาพ
                     น้ําฝนได้ (วินัย และสุกิจ, 2549) และการพัฒนาผลผลิตมันสําปะหลังพื้นที่เป้าหมายได้ เพื่อใช้ในการวาง
                     แผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                           3.3 แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                                แบบจําลองการปลูกพืช (Crop Simulation Models (CSMs)) เป็นโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่
                     สามารถจําลองการเจริญเติบโตของพืช เกิดขึ้นจากหลักการสร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการสร้าง

                     ความเข้าใจ และรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบรอบตัวเรา เพื่อประโยชน์ในการคาดการณ์ (prediction)
                     พฤติกรรมของสิ่งนั้น ส่งผลให้ควบคุมและจัดการระบบให้เหมาะสมต่อสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจทําให้เกิด
                     การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและเหมาะสมต่อระดับของทรัพยากร โดยแบบจําลองการปลูกพืชนี้ จะแปลง

                     ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการปลูกพืชให้เป็นสมการทางคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วย
                     ให้การแก้สมการที่ซับซ้อนเป็นไปอย่างแม่นยําและรวดเร็ว หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การสร้างแบบจําลองของระบบ
                     ที่เราสนใจ (อรรถชัย และคณะ, 2545 และ Tsuji et al., 1994)

                                แบบจําลองการปลูกพืชได้รับการพัฒนา และมีการสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการ
                     ทํางานในด้านต่างๆ กันออกไป ในด้านการวินิจฉัยคุณภาพและประเมินกําลังผลิตของดิน ของกลุ่มวินิจฉัย

                     คุณภาพและกําลังผลิตของดิน กองสํารวจดินและวิจัยทรัยากรดิน กรมพัฒนาที่ดินนั้น ได้ประยุกต์การใช้
                     งานระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบจําลองการปลูกพืชเป็นเครื่องมือในการประเมินกําลังผลิต
                     ของดิน ซึ่งแบบจําลองการปลูกพืชที่นิยมนํามาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรม PLANTGRO  และโปรแกรม
                     DSSAT  แต่การใช้โปรแกรม PLANTGRO  จะทําให้ทราบถึงข้อจํากัดในการให้ผลผลิตของพืชทําให้สามารถ

                     แก้ไขข้อจํากัดต่างๆ ได้ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทําคําแนะนําและแนวทางการจัดการดิน
                     สําหรับปลูกพืชได้

                                Hackett (1991) ได้กล่าวถึงโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                     ซึ่งถูกนํามาใช้ประโยชน์ในการประเมินการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช โดยสถาบัน CSIRO ประเทศออสเตรเลีย
                     ภายใต้โครงการ PLANTSOFT  CONCEPT  ทํางานโดยอาศัยชุดข้อมูลดิน  ข้อมูลพืช และข้อมูลภูมิอากาศ ซึ่ง

                     เป็นชุดข้อมูลที่นําเข้า โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ข้อมูลทันสมัยและสามารถเลือกใช้
                     ให้โปรแกรมทําการคํานวณเปรียบเทียบ โดยกระบวนการซึ่งสร้างไว้และจะได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลรายละเอียด
                     การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชซึ่งผู้ใช้ต้องนํามาแปลผลโดยใช้พื้นฐานความรู้ทางพืชศาสตร์

                     อุตุนิยมวิทยาและความสัมพันธ์ของดิน น้ํา พืช มาจัดทําเป็นข้อเสนอแนะต่อเกษตรกรหรือผู้ที่ต้องการทราบ
                     ผลว่าการปลูกพืชบนชุดดินหนึ่ง ในสภาพภูมิอากาศหนึ่งๆ จะมีข้อจํากัดใดๆ หรือไม่ การทํางานของ
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO สามารถสรุปได้ดังภาพที่ 1
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23