Page 20 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11


                     ตารางที่ 2 ระดับความรุนแรงของข้อจํากัดและการจัดระดับความเหมาะสม


                       ระดับความรุนแรง                ประสิทธิภาพการให้ผลผลิต (%)              ระดับความเหมาะสม
                       ของข้อจํากัด (LR)                 (plant's performance)                    (suitability)
                     0  ไม่มีข้อจํากัด  100.0% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต             9  เหมาะสมดีมาก

                     1              87.5% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต  ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตสูง   8
                        ไม่รุนแรง                                                                เหมาะสมดี
                     2              75.0% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต                  7

                     3              62.5% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต                  6
                        รุนแรงน้อย                                   ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตปานกลาง   เหมาะสมปานกลาง
                     4              50.0% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต                  5

                     5              37.5% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต                  4
                        รุนแรงมาก                                    ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตต่ํา   เหมาะสมต่ํา
                     6              25.0% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต                  3
                     7  รุนแรงมากที่สุด 12.5% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต   ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตต่ํามาก  2

                     8                                               พืชตายลงอย่างช้าๆ และไม่ให้ผลผลิต 1   ไม่เหมาะสม
                        ไม่เหมาะสม  0% ของประสิทธิภาพสูงสุดในการให้ผลผลิต
                     9                                               พืชตายก่อนให้ผลผลิต      0
                     ที่มา : ปรับปรุงจาก Hackett (1991) และ Hutchinson (2005)


                                3.3.1 ข้อมูลนําเข้าที่ใช้ประเมินในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                                      1) ข้อมูลด้านพืช

                                         ข้อมูลด้านพืช เป็นข้อมูลความต้องการของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการ
                     เจริญเติบโตของพืช (crop requirement) จากเอกสารวิชาการ และการตรวจนับ บันทึกข้อมูลในพื้นที่เพื่อบันทึก
                     ข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูลพืช โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย 23 ปัจจัย ได้แก่

                                         (1) การถ่ายเทอากาศ (aeration)
                                         (2) ความอิ่มตัวเบส (base saturation)

                                         (3) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity; CEC)
                                         (4) ความลึกของดินที่รากพืชสามารถหยั่งถึงได้ และความลึกของรากพืชที่สามารถ
                     หยั่งลึกได้ โดยไม่มีข้อจํากัดในการเติบโต (potential และ non-limiting root depth)
                                         (5) ไนโตรเจน (nitrogen)

                                         (6) ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
                                         (7) ฟอสฟอรัส (phosphorus)
                                         (8) โพแทสเซียม (potassium)

                                         (9) ความเค็ม (salinity)
                                         (10) ความลาดชัน (slope)
                                         (11) เนื้อดิน (texture)
                                         (12) ความสั้นยาวของวัน (daylength-plant clock)
                                         (13) ความสั้นยาวของวัน-ในมุมมองการจัดการ (daylength-management view)

                                         (14) พลังงานแสงอาทิตย์ (solar radiation)
                                         (15) อุณหภูมิต่ําสุดที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืช (brief cold)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25