Page 21 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          12


                                         (16) อุณหภูมิเฉลี่ยต่ําสุดที่พืชสามารถทนได้ (extended cold)
                                         (17) อุณหภูมิสูงสุดที่ส่งผลกระทบต่อพืช (heat damage)

                                         (18) หน่วยพลังงานความร้อน (thermal units; TUs)
                                         (19) น้ําที่เป็นประโยชน์ (water availability)
                                         (20) น้ําท่วมขังตามฤดูกาล (seasonal water logging)
                                         (21) น้ําท่วม (flooding)

                                         (22) ความเสียหายจากลม (wind damage)
                                         (23) คุณภาพผลผลิต (quality)

                                      2) ข้อมูลปัจจัยด้านดิน

                                         ข้อมูลปัจจัยด้านดินของโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ประกอบไป
                     ด้วยข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่

                                         2.1) กลุ่มปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อพืช ตัวอย่างเช่น ไนโตรเจนที่พืชสามารถนําไปใช้ได้
                     ค่าความเค็มของดิน เป็นต้น ซึ่งสามารถจะนําไปใช้ในการจับคู่เปรียบเทียบกับข้อมูลด้านพืชที่สร้างขึ้นใน

                     แฟ้มข้อมูลพืชของโปรแกรมได้โดยตรง

                                         2.2) กลุ่มปัจจัยที่มีผลทางอ้อมต่อพืช ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการอุ้มน้ําของ
                     ดิน ความสามารถในการระบายน้ําของดิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลจะต้องมีการจัดการเพื่อระบุเงื่อนไขของสิ่งที่พืช
                     รับรู้ได้ด้วย โดยปัจจัยทางด้านดินที่ใช้ในการนําเข้าจะประกอบไปด้วยปัจจัยหลักๆ ทั้งสิ้น 13 ปัจจัย ได้แก่

                                         (1) การถ่ายเทอากาศ (aeration)

                                         (2) ความอิ่มตัวเบส (base saturation)
                                         (3) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity; CEC)
                                         (4) ความลึกของดิน (depth overall)
                                         (5) ปริมาณไนโตรเจน (nitrogen)

                                         (6) ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
                                         (7) ปริมาณฟอสฟอรัส (phosphorus)
                                         (8) ปริมาณโพแทสเซียม (potassium)
                                         (9) ความเค็มของดิน (salinity)

                                         (10) ความลาดชันของพื้นที่ (slope)
                                         (11) เนื้อดิน (texture)
                                         (12) ความจุน้ําใช้ประโยชน์ได้ (available water capacity)
                                         (13) ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ (drainable water capacity)


                                      3) ข้อมูลด้านภูมิอากาศ
                                         ข้อมูลภูมิอากาศจะถูกนําไปใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลพืชเพื่อใช้ทํานายการ

                     เจริญเติบโตของพืช เป็นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละพื้นที่ มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อมูลจริง (actual) และ
                     ข้อมูลเฉลี่ย (average) ในแฟ้มข้อมูลภูมิอากาศ จําเป็นต้องมีรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น
                     สถานีวัดอากาศ ลองจิจูด ละติจูด ระดับความสูง เป็นต้น และเป็นข้อมูลที่บันทึกค่าตัวแปรของปัจจัยทาง

                     ภูมิอากาศต่างๆ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชจะประกอบไปด้วยปัจจัยหลักๆ ทั้งสิ้น 9 ปัจจัย ได้แก่
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26