Page 15 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            6


                                3.1.6 การปลูกมันสําปะหลัง

                                      วิธีการปลูกและขั้นตอนดูแลรักษามันสําปะหลัง (กลุ่มอนุรักษ์ดินและน้ํา, 2546) มีดังนี้

                                      1) การเตรียมดิน

                                         เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังควรเตรียมดินให้ลึกร่วนซุย และทําลายวัชพืชให้หมด
                     เนื่องจากการเตรียมดินให้ลึกร่วนซุย มีผลทําให้มันสําปะหลังที่ปลูกมีความงอกและต้นอยู่รอดสูง ท่อนพันธุ์ที่

                     ปลูกสัมผัสกับดินมากที่สุด เมื่องอกเป็นต้นอ่อนแล้วสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การแข่งขันจากวัชพืชมี
                     น้อย การใช้ผาน 3 ในครั้งแรก และตามด้วยผาน 7 เป็นวิธีการที่เหมาะสมโดยไถพรวนในช่วงที่ดินมีความชื้น
                     เหมาะสม สําหรับการปลูกมันสําปะหลังช่วงปลายฤดูฝนควรไถพรวนภายหลังฝนตกแล้ว 2–3 วัน เพื่อกักเก็บ

                     ความชื้นไว้ในดิน เมื่อจะปลูกมันสําปะหลังจึงไถแปรดินด้วยจานพรวนหรือผาน 7 อีกครั้งหนึ่ง มันสําปะหลัง
                     จะงอก และสามารถเจริญเติบโตข้ามฤดูแล้ง โดยอาศัยความชื้นในดินที่มีอยู่

                                         สําหรับการปลูกมันสําปะหลังในช่วงฤดูฝนแนะนําให้ยกร่องแล้วปลูกบนสันร่องจะ
                     ดีกว่า กรณีฝนตกชุกน้ําสามารถระบายไปตามร่องได้ ไม่พัดพาทําความเสียหายกับท่อนพันธุ์ที่ปลูก การ
                     กําจัดวัชพืชทําได้สะดวกเพียงแต่ใช้จอบถากดินและหญ้าลงมาบริเวณกลางร่อง การเปรียบเทียบผลผลิต

                     ของมันสําปะหลังที่ปลูกด้วยวิธียกร่องกับไม่ยกร่อง ปรากฏว่าผลผลิตใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการ
                     ยกร่องจะเสียค่าใช้จ่ายในการยกร่อง แต่การปลูกทําได้รวดเร็ว สะดวกในกรณีพื้นที่ลาดเทไม่มากนัก การไถ
                     พรวนและยกร่องขวางความลาดเทให้ผลผลิตค่อนข้างสูงและเป็นวิธีในการป้องกันการพังทลายของดิน

                                      2) การเตรียมท่อนพันธุ์

                                         ใช้ท่อนพันธุ์มันสําปะหลังที่สดอายุ 8–12 เดือน ตัดทิ้งไว้นานไม่เกิน 15 วัน ตัดท่อน
                     พันธุ์ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร สําหรับฤดูฝน และความยาว 25 เซนติเมตร ในช่วงปลายฤดูฝนมีตาไม่น้อย

                     กว่า 5 ตาต่อท่อนพันธุ์ ท่อนพันธุ์จากลําต้นจะเจริญเติบโตดีกว่าท่อนพันธ์จากกิ่งพันธุ์ ต้นพันธุ์ใหม่ สด ไม่
                     บอบช้ํา ไม่มีโรคแมลงทําลาย เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 160 กรัม ผสม
                     ร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ํา 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก สําหรับพื้นที่ที่มีปลวกควรจุ่มท่อน
                     พันธุ์ในยาคลอไดร์ท 72 เปอร์เซ็นต์อีซี จํานวน 125 ซีซี ผสมรวมกับแคปแทน 160 กรัม ในน้ํา 20 ลิตร

                     ประมาณ 10 นาที นําขึ้นมาผึ่งให้แห้งก่อนปลูก

                                      3) ระยะปลูกและวิธีปลูก

                                         การปลูกมันสําปะหลังสามารถกระทําได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิด
                     ของพันธุ์ที่ใช้และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระยะมาตรฐานที่แนะนํากับมันสําปะหลังทุกพันธุ์และทุก
                     สภาพดิน คือ 1.0 x 1.0 เมตร อย่างไรก็ตามสามารถเพิ่มหรือลดระยะปลูกได้ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
                     ควรใช้ระยะ 1.0 x 1.2 เมตร หรือ 1.2 x 1.2 เมตร เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตทางใบและลําต้นมากกว่าการ

                     ลงหัว ในทางตรงข้าม ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ดินทรายจัด ควรใช้ระยะปลูกถี่ขึ้น คือ 1.0 x 0.8 เมตร
                     0.8 x 0.8 เมตร หรือ 0.6  x 0.6 เมตร ทั้งนี้เพื่อให้มันสําปะหลังคลุมพื้นที่ได้เร็ว ลดปัญหาวัชพืช เป็นที่น่า
                     สังเกตว่าการปลูกถี่ทําให้จํานวนต้นต่อไร่สูงขึ้น จํานวนหัวต่อไร่ก็เพิ่มมากขึ้น แต่หัวมันสําปะหลังมีขนาดเล็ก

                     ลง ในเรื่องของการจัดระยะปลูก จึงมีคํากล่าวว่า “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” เกษตรกรจึงควรทดลองปลูก
                     จัดระยะให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20