Page 13 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            4


                                3.1.5 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

                                      บัณฑิตและคํารณ (2542) กอบเกียรติ (2554) และ FAO  (2559) ได้รายงานสภาพแวดล้อม
                     ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมันสําปะหลัง ไว้ ดังนี้


                                      สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกมันสําปะหลัง เป็นพื้นที่ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง
                     ไม่เกิน 2,000 เมตร มีความลาดชันที่เหมาะสมดีไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความลาด
                     ชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ และสภาพพื้นที่ที่ไม่มีน้ําท่วมขัง

                                      ลักษณะดินที่เหมาะสม มันสําปะหลังสามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                     เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย การระบายน้ําดี ปลูกได้ในสภาพที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกรด

                     รุนแรงมากถึงด่างปานกลาง (pH 4.0-8.4) และไม่เป็นดินเค็ม
                                      สภาพภูมิอากาศ มันสําปะหลังเป็นพืชที่ปลูกในเขตร้อน ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 30 องศาใต้ถึงเส้น

                     รุ้งที่ 30 องศาเหนือ ในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมิเย็นจัดมันสําปะหลังไม่สามารถขึ้นได้ มันสําปะหลัง
                     สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่บางแห่งที่มีปริมาณน้ําฝนต่อปีน้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร แต่ถ้าเป็นบริเวณที่
                     ฝนตกน้อยกว่า 500 มิลลิเมตรต่อปี ไม่สามารถปลูกมันสําปะหลังได้ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมที่สุดมี

                     ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยปีละ 1,200-1,500 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 25-29 องศาเซลเซียส เป็นพืชวันสั้น
                     ต้องการช่วงแสงของวันยาว 12-14 ชัวโมง

                                      ฤดูปลูก มันสําปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกช่วงต้น
                     ฤดูฝน (เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม) ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง
                     (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนถึง

                     เดือนตุลาคม การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ถ้าเป็นดินทรายการปลูก
                     ในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตหัวสูงสุด (วิจารณ์และคณะ, 2547) การเลือกฤดูปลูกของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัย
                     ต่างๆ ดังนี้

                                      1) ปริมาณน้ําฝน การปลูกในช่วงต้นฤดู ปริมาณน้ําฝนยังไม่มากนักจึงมีเวลาเตรียมดินได้
                     ดี การมีเวลาเตรียมดินอย่างดีจะทําให้จํานวนวัชพืชลดลงมาก ดินร่วนเหมาะกับการลงหัวและมันสําปะหลัง

                     จะได้รับน้ําฝนตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต ถ้าปลูกช่วงปลายฤดูหรือในฤดูแล้งหลังจากมันสําปะหลัง
                     ขึ้นมาแล้วจะพบกับระยะฝนทิ้งช่วง 2-3 เดือน ทําให้มันสําปะหลังชะงักการเจริญเติบโตแต่ข้อดีของการ
                     ปลูกปลายฝนคือมีวัชพืชขึ้นรบกวนน้อย

                                      2) ชนิดดิน ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปีแต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน

                     เช่น แถบจังหวัดระยองและชลบุรี แต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวน
                     จะได้ดินก้อนใหญ่ ท่อนพันธุ์มันสําปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอก เป็นต้น

                                      3) พันธุ์ มันสําปะหลังพันธุ์พื้นเมืองถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ําและการ
                     ขนส่งลําบาก จึงนิยมปลูกปลายฤดูเพื่อการเก็บเกี่ยวและขนส่งในฤดูแล้งจะได้คุณภาพและราคาดี แต่ใน
                     ปัจจุบันมีพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงทุกฤดูจึงสามารถปลูกได้ทั้งปี เป็นการกระจาย

                     ผลผลิตให้สม่ําเสมอตลอดปีได้ (ปิยะวุฒิ, 2535)
                                      สําหรับการเจริญเติบโตของมันสําปะหลัง สามารถกําหนดระดับความต้องการปัจจัยที่มี

                     ผลต่อการเจริญเติบโต ได้ดังแสดงในตารางที่ 1
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18