Page 12 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            3


                     ปี 2557/58 เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึงกันยายน 2558 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.59 ล้านไร่

                     ผลผลิต 30.91 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.60 ตัน (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552)
                                      ปัจจุบันศักยภาพทางพันธุกรรมของมันสําปะหลังในประเทศไทยมีพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย

                     สูง 5-6 ตันต่อไร่ ภายใต้การจัดการที่เหมาะสมอยู่หลายพันธุ์ เช่น ระยอง 7 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60
                     เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2552) แนวทางในการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ในระยะสั้นและระยะกลาง คือ การ
                     บริหารจัดการดินและน้ํา รวมทั้งการเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับชุดดิน จะทําให้ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ

                     เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับศักยภาพพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
                                3.1.3 แหล่งปลูกมันสําปะหลัง


                                      ภูมิภาคที่ผลิตมันสําปะหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ทวีปแอฟริกา รองลงมา ได้แก่ เอเชีย
                     กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ประเทศที่ผลิตมันสําปะหลังปริมาณมากที่สุด คือ ประเทศไนจีเรีย
                     รองลงมา คือ บราซิล และประเทศไทยเป็นอันดับ 3 หรืออันดับ 4 สลับกับประเทศอินโดนีเซียและคองโก ใน
                     บางปี ซึ่งมีผลผลิตรวมประมาณร้อยละ 60 ของมันสําปะหลังทั่วโลก เนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสําปะหลังของโลก
                     ในช่วงปี 2547-2551 อยู่ระหว่าง 113-117 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิตรวมระหว่าง 205-238 ล้านตัน และปริมาณ

                     ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ระหว่าง 1.80-1.95 ตัน (ธีระยุทธและคณะ, 2552)

                                      พื้นที่การเพาะปลูกมันสําปะหลังของประเทศไทยมีพื้นที่รวมทั้งประเทศประมาณ
                     9.27 ล้านไร่ โดยภาคที่มีพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ปลูกจํานวน
                     4.82 ล้านไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยปี 2557-2558 ประมาณ 3.58 ตันต่อไร่ รองลงมาคือภาคกลาง (รวมภาคตะวันออก)

                     มีเนื้อที่ปลูกจํานวน 2.40 ล้านไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยปี 2557-2558 ประมาณ 3.53 ตันต่อไร่ ที่เหลือเป็น
                     ภาคเหนือมีเนื้อที่ปลูกจํานวน 2.05 ล้านไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยปี 2557-2558 ประมาณ 3.64 ตันต่อไร่ จังหวัด
                     นครราชสีมาเป็นแหล่งปลูกมันสําปะหลังใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1.55 ล้านไร่ ผลผลิต
                     5.87 ล้านตัน ผลผลิต 3.79 ตันต่อไร่ (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)

                                3.1.4 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

                                      มันสําปะหลังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manihot esculenta Crantz. หรือ Manihot esculenta (L.)

                     Crantz อยู่ในตระกูล Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่มเตี้ย อายุหลายปี

                                      ราก มันสําปะหลังมีรากน้อย และอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน มีราก 2 ชนิด คือ รากจริง และราก
                     สะสมอาหาร ที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว มีปริมาณแป้งประมาณ 15–40 เปอร์เซ็นต์ มีกรดไฮโดรไซยานิก (HCN)
                     หรือกรดพรัสซิก (prussic acid) ซึ่งมีพิษ จะมีอยู่มากในส่วนของเปลือกมากกว่าเนื้อของหัว การแช่น้ํา การต้ม

                     จะทําให้กรดระเหยไปได้
                                      ลําต้น มีลักษณะเป็นข้อๆ ซึ่งเป็นรอยที่ก้านใบร่วงหลุดไป สีของลําต้นส่วนยอดจะเป็นสีเขียว

                     ส่วนทางด้านล่างอาจมีสีน้ําตาล หรือสีม่วงแดงขึ้นอยู่กับพันธุ์

                                      ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบแยกเป็นแฉกคล้ายใบปาล์มมีสีเขียว ก้านใบอาจมีสีเขียว หรือสีแดง
                     บางพันธุ์ใบจะมีสีเหลือง หรือขาว หรือใบด่างที่ใช้เป็นไม้ประดับ

                                      ดอก มันสําปะหลังมีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้จะอยู่ทาง
                     ส่วนปลายของช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกตัวเมีย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีเหลืองหรือมีลายแดง ผล และเมล็ด

                     ในแต่ละผลจะมี 3 เมล็ด เมล็ดจะมีสีเทาหรือลายจุดดํา
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17