Page 11 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            2


                     3. การตรวจเอกสาร

                           3.1 มันสําปะหลัง

                                3.1.1 ข้อมูลพื้นฐานของมันสําปะหลัง

                                      มันสําปะหลังมีถิ่นกําเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ต่อมาได้มีการขยายการเพาะปลูก
                     ไปสู่แหล่งอื่นๆ จนทําให้มันสําปะหลังกลายเป็นพืชอาหาร (พืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง) สําหรับประเทศไทยคาดว่า

                     ได้มีการนํามันสําปะหลังจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกในไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2329  (ดนัย, 2537) โดย
                     เริ่มปลูกในระหว่างแถวของต้นยางพารา เพื่อใช้ทําแป้งและสาคูในภาคใต้ ต่อมาเมื่อมีการขยายการเพาะปลูก
                     ยางพาราในเขตภาคใต้มากขึ้น การปลูกมันสําปะหลังในภาคใต้จึงค่อยๆ ลดลง และแพร่กระจายการเพาะปลูกไปยัง

                     เขตภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น (จรุงสิทธ์ และอัจฉรา, 2547) ซึ่งในปัจจุบัน พบว่าไม่มีการ
                     เพาะปลูกมันสําปะหลังในภาคใต้แล้ว (กลุ่มทํางานศึกษาและวิเคราะห์สินค้าเกษตรประเภทมันสําปะหลัง, 2554)

                                      มันสําปะหลังเป็นพืชเขตร้อน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก คือ เขตร้อนช่วง
                     บริเวณเส้นรุ้งที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้ และบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน
                     2,000  เมตร ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวง่าย ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่

                     เหมาะสมต่อการปลูกมันสําปะหลังมากแห่งหนึ่งของโลก ข้อดีของมันสําปะหลัง คือ เป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง
                     ได้ดีกว่าพืชอื่นๆ ต้องการการดูแลตํ่า มีโรคและศัตรูพืชรบกวนน้อย และสามารถปลูกได้ผลแม้จะปลูกใน
                     พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ํา จึงทําให้เกษตรกรนิยมปลูกมันสําปะหลังกันมาก

                                      พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 3  กลุ่ม คือ พันธุ์ที่ใช้ประดับ พันธุ์ที่ใช้บริโภค
                     เป็นอาหารโดยตรง (พันธุ์หวาน) และพันธุ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ (พันธุ์ขม) (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง

                     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558) มันสําปะหลังเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยลําต้น ปลูกโดยคัดเลือกต้นพันธุ์ที่
                     สมบูรณ์ สด ใหม่ อายุ 8-12 เดือน ปราศจากโรคและศัตรูพืช นํามาตัดเป็นท่อนพันธุ์ ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
                     มีจํานวนตาไม่น้อยกว่า 5 ตา แล้วนําไปปักในแปลงปลูกให้มีระยะปลูกที่เหมาะสม (กรมวิชาการเกษตร, 2545)
                     การที่มันสําปะหลังขยายพันธุ์ด้วยลําต้น ทําให้การขยายพันธุ์ช้า เมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ที่ขยายพันธุ์ด้วย

                     เมล็ด การกระจายพันธุ์ที่ดีไปสู่เกษตรกรจึงล่าช้าและไม่เพียงพอต่อความต้องการ การพัฒนาวิธีการ
                     ขยายพันธุ์ของมันสําปะหลังเพื่อผลิตท่อนพันธุ์ที่ดีและมีคุณภาพจึงจัดได้ว่ามีความสําคัญมาก (จารินี, 2537)

                                3.1.2 ความสําคัญของมันสําปะหลัง

                                      เนื่องจากปริมาณความต้องการด้านพืชพลังงานในประเทศ และปัญหาราคาน้ํามันที่
                     เพิ่มขึ้น พลังงานทดแทนจากพืชเพื่อผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลังและอ้อย ไบโอดีเซลจากปาล์มน้ํามัน

                     และพืชอื่นๆ จึงได้รับความสนใจ โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากมันสําปะหลังในปี 2552  จากหัว
                     มันสําปะหลังที่ผลิตได้ 30 ล้านตัน ร้อยละ 56 เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสําปะหลัง และร้อยละ 44
                     เข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตมันเส้นและมันอัดเม็ด แป้งมันที่ผลิตได้ร้อยละ 60  เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ส่วนที่
                     เหลือเป็นการใช้ในประเทศ โดยใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหาร
                     ประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมสารให้ความหวาน ผงชูรส กระดาษ โมดิไฟด์สตาร์ช และสาคู สําหรับมันเส้นที่

                     ผลิตได้ ส่งออกร้อยละ 56  ส่วนที่เหลือเป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ แอลกอฮอล์และ
                     กรดอินทรีย์ เป็นต้น (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552)

                                      ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สําคัญหลายชนิด
                     เป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทํารายได้ที่สําคัญของประเทศ ผลผลิตมันสําปะหลัง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16