Page 35 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        24







                              การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดการ
                       สูญเสียเนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ช่วยดูดซับไอออนที่ปลดปล่อยจากปุ๋ยเคมีและค่อยๆ ปลดปล่อยไอออน
                       หรือธาตุอาหารให้แก่พืชต่อไป (ยงยุทธ, 2551)
                              ปริมาณคุณค่าทางโภชนาการของพืชผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น วิตามิน แร่ธาตุและสาร

                       ต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีแนวโน้มมากกว่า พืชผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี
                       (Asami et al., 2003; Kipkosgei et al., 2003)
                              ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นเองหรือวางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ยังคงมีปริมาณธาตุอาหารต่ า

                       โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมซึ่งจ าเป็นต่อการเจริญเติบโต
                       ของพืช อีกทั้งปุ๋ยอินทรีย์ยังมีข้อจากัดบางประการ เช่น มีอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา
                       ช้า จึงอาจไม่ทันกับความต้องการของพืช โดยเฉพาะพืชผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เนื่องจากธาตุ
                       อาหารในปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในรูปของอินทรีย์สาร ซึ่งจ าเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย
                                                                                                         -
                                                                                       +
                       เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปอนินทรีย์สาร เช่น แอมโมเนียม (NH4 ) และไนเตรต (NO3)
                       ที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ (ชุติมณฑน์,  2553)  ซึ่งหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาที่ดินได้
                       ท าการศึกษาโดยการน าวัสดุอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่าน
                       กระบวนการหมักจนสลายตัวอย่างสมบูรณ์ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารหลักในปริมาณสูง

                       แต่อย่างไรก็ตาม รายงานเกี่ยวกับชนิดและอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมต่อการ
                       เจริญเติบโตของพืชผักนั้นยังมีอยู่อย่างจ ากัด
                                9.1 ความหมาย
                                      ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดไม่เป็นของเหลวที่มีปริมาณธาตุอาหาร

                       หลักรวมกันไม่เกิน 20  เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก โดยได้จากการน าวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติ
                       ทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่านกระบวนการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ น ามาผสมกับวัสดุ
                       อินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง ซึ่งมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์
                       คุณภาพสูงที่ก าหนดโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

                                            1) ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง (organic matter) ไม่ต่ ากว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของ
                                                 น้ าหนัก
                                            2) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่เกิน 20:1
                                            3) ค่าการน าไฟฟูา (electrical conductivity) ไม่เกิน 15 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร

                                            4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5 - 10
                                            5) ปริมาณโซเดียม (Na) ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก
                                            6) ปริมาณธาตุอาหารหลัก

                                                 - ไนโตรเจนทั้งหมด (total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ าหนัก
                                                 - ฟอสเฟตทั้งหมด (total P2O5 ) ไม่น้อยกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ าหนัก
                                                 - โพแทเซียมทั้งหมด (total K2O) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ าหนัก
                                             7) ปริมาณความชื้นของปุ๋ยอินทรีย์ ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ าหนัก
                                             8) ขนาดของปุ๋ยไม่เกิน 12.5 x 12.5 มิลลิเมตร
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40