Page 31 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        20







                       เพราะเป็นช่วงฤดูร้อน และฤดูฝนซึ่งมีโรคและแมลงระบาดมากท าให้ผักคะน้าจะออกสู่ตลาดน้อย
                       ส่วนในฤดูที่ผักคะน้าออกสู่ตลาดมาก คือ ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์  ท าให้ในช่วงดังกล่าว
                       นั้นราคาผักคะน้าจะต่ ามาก  ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกควรพิจารณาปลูกในช่วงฤดูร้อน  และฤดูฝน จะ
                       ดีกว่า  ซึ่งหากมีการจัดการดูแลรักษาปูองกันโรค และแมลงอย่างดีจะท าให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เพราะมี

                       ราคาสูงกว่าการปลูกในช่วงฤดูหนาว  พื้นที่เพาะปลูกผักคะน้าในประเทศไทยประมาณ 92,541  ไร่
                       (นิรนาม, 2552) ผักคะน้าจัดเป็นผักที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มได้แต่ต้องไม่เค็มมาก
                       เกินไป (คณาจารย์ภาควิชาปฐพี, 2548) ผักคะน้าเป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง ซึ่งช่วยลด

                       ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งจึงได้รับความนิยมน ามารับประทานกันอย่างแพร่หลาย สามารถบริโภคทั้งต้น
                       และใบ ในการผลิตผักคะน้าพืชมีความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนสูง เนื่องจากไนโตรเจนส่งเสริมให้
                       พืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนที่นิยมใช้มีอยู่ 3 รูป คือ ยูเรีย, แอมโมเนียม และ
                       ไนเทรตซึ่งพืชจะดูดไปใช้ในรูปของแอมโมเนียมไอออน ไนเทรตไอออนและโมเลกุลยูเรียจาก
                       สารละลายของดินไปใช้ได้โดยตรง และเมื่อยูเรียแปรสภาพในดินกลายเป็นแอมโมเนียมไอออนแล้ว

                       ไอออนนี้จะเป็นรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายเช่นกัน (ยงยุทธ และคณะ,  2554) โดยในระยะต้น
                       กล้าพืชสามารถดูดซึมแอมโมเนียมได้ในอัตราที่สูงกว่าไนเทรต (Serna  et  al.,  1992)  แต่ในผักโขม
                       (Spinacia  oleracea)  พบว่ามีการดูดซึมไนเทรตได้ดีกว่าแอมโมเนียม โดยอัตราแอมโมเนียมต่อ

                       ไนเทรต 25:75 จะให้ผลผลิตที่สูง แต่จะมีการสะสมไนเทรตในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้บริโภค
                       (Conesa et al., 2009) โดยปกติปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรในประเทศไทยใช้ พบไนโตรเจนทั้ง 3 รูป แต่มี
                       อัตราส่วนไนโตรเจนในแต่ละรูปแตกต่างกัน ซึ่งพืชน่าจะมีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตแตกต่าง
                       กัน (วรรณิศา และคณะ, 2557)

                                    โดยทั่วไปการเพาะปลูกพืชผักมักประสบปัญหาหลายประการไม่ว่าจะเป็นโรค แมลงศัตรู
                       และวัชพืช และศัตรูทีส าคัญมากชนิดหนึ่งคือ หนอนใยผัก Diamondback  moth,  Plutella
                       xylostella L. (Lepidoptera: Plutellidae) (วินัย,2535; พรรณเพ็ญ และคณะ, 2542)
                                  7.2 พันธุ์ผักคะน้า

                                   พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นผักคะน้าดอกขาวทั้งสิ้น โดยสั่งเมล็ดจาก
                       ต่างประเทศเข้ามาปลูกและปรับปรุงพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์ผักคะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3
                       พันธุ์ด้วยกัน คือ
                                            1)  พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน และผิวใบเป็นคลื่น

                       เล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1 เป็นต้น
                                             2) พันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม    มี
                       ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L. 20 เป็นต้น

                                             3) พันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับผักคะน้าใบแหลม แต่จ านวนใบต่อต้น
                       จะมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น มีปล้องที่ยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1  เป็นต้น  พันธุ์แม่โจ้ 1  เป็นพันธุ์ที่มี
                       ลักษณะตรงกับความนิยมของผู้บริโภคล าต้น เป็นล าต้นเดี่ยว อวบ ส่วนกลางปุองใหญ่ ใบเรียบ ปลาย
                       ใบแหลมตั้งชี้ขึ้น ก้านใบบาง ช่วงข้อยาว มีน ้าหนักส่วนที่เป็นล าต้นและก้านมากกว่าใบ ให้ผลผลิตสูง
                       ทุกภาคตลอดปี อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-48 วัน ขนาดล าต้นสูงเฉลี่ย 33.40 เซนติเมตร ขนาด

                       เส้นผ่าศูนย์กลางของล าต้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด คือ 2 เซนติเมตร จ านวนใบต่อต้นเฉลี่ย 9 ใบ น ้าหนักเฉลี่ย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36