Page 38 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        27







                       สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหาร หรือน้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ส่วนในดินเนื้อหยาบ เช่นดินทราย
                       ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีอินทรียวัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                       ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และท าให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ า หรือดูดซับความชื้นไว้ให้
                       พืชได้มากขึ้น นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดิน

                       ในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ท าให้การงอกของเมล็ดหรือการซึมของ
                       น้ าลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ าเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดม
                       สมบูรณ์ไป เป็นต้น

                                              2)  ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะ
                       ปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ าเสมอ โดยทั่วไปแล้วจะมีปริมาณแร่ธาตุ
                       อาหารพืชที่ส าคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็น
                       ประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5  เปอร์เซ็นต์  และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ าได้ประมาณ
                       0.5-1.8  เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่

                       น ามาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย ถึงแม้ปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อย
                       กว่าปุ๋ยเคมี แต่มีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง  3  ที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืช
                       ชนิดอื่นๆ อีกเซ่น แคลเซียม แมกนีเซียม ก ามะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง

                       โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น แร่ธาตุเหล่านี้มีความส าคัญต่อ
                       การเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้นพืชต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้น
                       (ปรัชญา และคณะ. 2537)
                                           นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถปรับปรุงความ

                       อุดมสมบูรณ์ในหลายๆด้าน เช่น ช่วยท าให้แร่ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืช
                       สามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ าฝนหรือน้ าชลประทาน
                       ชะล้างสูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อีก
                       ทางหนึ่งเป็นต้น  (ปรัชญา, 2536)

                                         - ข้อจ ากัดของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ าเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี การ
                       ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ธาตุอาหารเพียงพอและสมดุลย์ส าหรับพืชหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี จะต้องใส่ใน
                       อัตราที่สูงมากโดยเฉพาะในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  (ด าริ และจันทิมา, 2534)
                                            โดยปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน ได้เผยแพร่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสูตรที่มี

                       ปริมาณไนโตรเจนสูง หรือสูตรที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ซึ่งคุณสมบัติเด่นของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                       คือเป็นแหล่งธาตุอาหารหลักและรองต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
                       ต่อดินและพืช ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้า ๆ ท าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร เกษตรกร

                       สามารถผลิตใช้เองได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)

                       10. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                              การศึกษาการใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อม
                       นานาชาติสิรินธรพบว่าหญ้า Seabrook  ให้น้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งรวมสูงสุดตลอดการศึกษาคือ

                       3167.1 และ 1948.6  กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ มากกว่าหญ้า Georgia  หญ้า Dixie  และหญ้า
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43