Page 34 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        23







                       โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิกรวมมีค่าลดลงซึ่งจากปัญหาดังกล่าว
                       ประกอบกับกระแสการรักษาสุขภาพที่ก าลังเป็นที่สนใจของประชาชน จึงเกิดการรณรงค์เพื่อลดการใช้
                       ปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช โดยในปัจจุบันหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ส่งเสริมและศึกษาการ
                       น าเอาวัสดุอินทรีย์หรือ  อนินทรีย์ธรรมชาติมาผ่านกระบวนการหมักจนสลายตัวอย่างสมบูรณ์ เพื่อ

                       ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีและเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น เช่น การวิจัย
                       เกี่ยวกับการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพเพียงอย่างเดียวไม่
                       มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตในผักคะน้า แต่เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงท าให้ผักคะน้ามีความสูง

                       น้ าหนัก และผลผลิตดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ จากการทดลองพบว่าการใช้กากชู
                       รสในอัตรา 300 ลิตรต่อไร่ ท าให้ผักคะน้ามีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงสุด และมีต้นทุนการผลิต
                       ที่ต่ าเมื่อเทียบกับการใส่ปุ๋ยยูเรียเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม รายงานเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                       คุณภาพสูงที่มีธาตุอาหารหลักในปริมาณสูงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้ายังมีอยู่อย่าง
                       จ ากัด ( สัญญา และ อรประภา,  2559)

                                  7.4.6 การเก็บเกี่ยว ผักคะน้าที่ปลูกในประเทศไทยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55
                       วัน หลังจากปลูกซึ่งเป็นระยะที่ผักคะน้าโตเต็มที่ ผักคะน้าอายุ 45  วันเป็นระยะที่ตลาดมีความ
                       ต้องการมาก แต่ผักคะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ าหนักมากกว่า โดยใช้มีดตัดให้

                       ชิดโคนต้น การตัดจะตัดไล่เป็นหน้ากระดาน เมื่อตัดแล้วบางแห่งจะมัดด้วยเชือกกล้วย มัดละ 5
                       กิโลกรัม บางแห่งเก็บบรรจุเข่ง โดยไม่ได้มัด ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่งและของผู้ซื้อ

                       8. ปุ๋ยเคมี

                              ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมแร่ธาตุต่างๆ ที่ได้ตาม
                       ธรรมชาติหรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดปุ๋ยเคมีแบ่งเป็น 2  ประเภท คือ ปุ๋ย
                       เดี่ยวและปุ๋ยเชิงผสม มีธาตุอาหารหลักคือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อยู่ในรูปของ
                       สารเคมี และสามารถปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ง่ายและเร็ว (ศิราณี, 2557)


                       9.ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (High quality organic fertilizer)
                              จากสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีนั้น ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
                       ที่มุ่งเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดย

                       ปุ๋ยอินทรีย์นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน เช่น การอุ้มน้ าและการถ่ายเท
                       อากาศในดินแล้ว ยังมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์ต่อการ
                       เจริญเติบโตของพืชรวมอยู่ด้วย อีกทั้งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ยังเป็นการ

                       ช่วยลดปริมาณขยะและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า
                       พืชผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีแนวโน้มของการสะสมปริมาณไนเตรตน้อยกว่าพืชผักที่ปลูกโดยใช้
                       ปุ๋ยเคมี (พัชราภรณ์ และคณะ, 2552)
                              การผลิตแบบอินทรีย์ท าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น และปริมาณธาตุไนโตรเจน
                       โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลดีในรอบการผลิตต่อไป

                       (จิรภา และคณะ,2553)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39