Page 30 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        19







                       และวัชพืชได้ แต่ต้องเลือกชนิดของพืชให้เหมาะสม ปัญหาของการผลิตผักอินทรีย์ที่ไม่ได้รับความนิยม
                       เนื่องจากมีผลผลิตต่ าโรคและแมลงระบาด แม้จะได้ราคาสูงก็ตาม ปัญหาผลผลิตต่ าเกิดจากใส่ธาตุ
                       อาหารพืชไม่เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งมีรายงานว่าไนโตรเจน เป็นปัญหาส าคัญของการ
                       พัฒนาการผลิตผักอินทรีย์  แสงเดือน (ม.ป.ป.) พบว่าในการปลูกพืชอินทรีย์ ในระยะแรกผลผลิตจะได้

                       น้อยกว่าพืชเคมีประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินและการ
                       สลายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่
                              ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงด ารงอาชีพการเกษตร

                       โดยในปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรยังคงมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า
                       เกษตรกรยังคงมีพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากเกินความต้องการของพืชและใช้อย่างต่อเนื่อง
                       เพื่อเร่งการเจริญเติบโต (กรมวิชาการเกษตร,  2548)  โดยเฉพาะการผลิตพืชผัก ซึ่งการใช้ปุ๋ยใน
                       ลักษณะดังกล่าวนี้ นอกจากจะท าให้ต้นทุนในการผลิตมีมูลค่าสูงแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาดินเสื่อม
                       โทรม เช่น ดินมีความเป็นกรดมากขึ้น โครงสร้างของดินเสื่อมสภาพ และเกิดการสะสมของไนเตรตใน

                       ดินและแหล่งน้ าบริเวณใกล้เคียง (Savci, 2012) นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในพืชผัก
                       เช่น ไนเตรต (Muramoto,  1999)  ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารไนเตรต
                       ไปในปริมาณสูง จะก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคเมทีโมโกลบินีเมีย (methemoglobinemia)

                       ที่ไนเตรตเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนในเลือด ซึ่งไนเตรตที่เข้าสู่ร่างกาย
                       ในปริมาณสูงยังสามารถชักน าให้เกิดสารไนโตรซามีน (nitrosamine)  ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการ
                       เกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร (Santamaria, 2006)


                       7. ผักคะน้า
                               7.1 ข้อมูลทั่วไป
                                         สุนิสา (2551)  รายงานว่า ผักคะน้า (Chinese kale) เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่เรานิยม
                       บริโภคส่วนของใบ และล าต้น  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Brassica   oleracea   Var. alboglabra   จัด

                       อยู่ในตระกูลพืชพวกกะหล่ า (Cruciferaceae) มีถิ่นก าเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย ในเขตร้อนชื้น และกึ่ง
                       ร้อนกึ่งหนาว  ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี   แต่จะให้ได้ผลดีที่สุดในการปลูกช่วงเดือน
                       ตุลาคม–เมษายน   เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ผักคะน้าเป็นพืชผักที่มี
                       คุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งจากการวิเคราะห์ธาตุอาหารพบว่าในปริมาณ 100  กรัม ผักคะน้ามีน้ า 83

                       เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 53  แคลลอรี่   โปรตีน  6.0  กรัม ไขมัน  0.8  กรัม  คาร์โบไฮเดรท 9.0 กรัม
                       แคลเซียม 249 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส  93  มิลลิกรัม  เหล็ก 2.7  มิลลิกรัม โซเดียม 75  มิลลิกรัม
                       โพแทสเซียม 378  มิลลิกรัม วิตามิน 10,000  ไอ.ยู ไธอะมิน 0.16มิลลิกรัม ไรโบฟลาริน 0.26

                       มิลลิกรัม ไนอะซีน 2.1 มิลลิกรัม  และกรดแอสคอบิค  186  กรัม   ในส่วนของการเก็บเกี่ยวนั้น
                       ผักคะน้าที่ปลูกส่วนใหญ่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ  45-55  วันหลังย้ายปลูก  โดยจะใช้มีดตัด
                       บริเวณโคนต้นตัดแต่งเอาใบแก่ที่เป็นโรคหรือถูกแมลงท าลายดอก  รวบรวมบรรจุส่งตลาดต่อไป
                       นอกจากนี้เรายังได้ผักคะน้าอ่อน  หรือยอดผักคะน้าหลังจากการถอนแยกเมื่ออายุ   30  วัน  ในส่วน
                       ของการตลาดของผักคะน้าพบว่า ผักคะน้าจะมีราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปี  ราคาประมาณ  3.  50-5.00

                       บาท  โดยราคาผักคะน้าจะสูงในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน  หรือเดือนกรกฎาคม  อาจเป็น
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35